การเวียนว่ายและความบริสุทธิ์ SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 184
หน้าที่ 184 / 209

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการเวียนว่ายและความบริสุทธิ์ที่ได้กล่าวถึงความไม่สามารถหาสาเหตุและปัจจัยในชีวิตมนุษย์ ทั้งยังมีการกล่าวถึงกรรมและความเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆ ว่าพวกเขานั้นไม่มีอำนาจเหนือชะตากรรมของตัวเอง และมุ่งกระตุ้นให้พิจารณาความจริงที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน จากคำพูดของครูอชิตเกสกัมพล ที่มีการเปรียบเทียบและสอบถามเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของสมณะ

หัวข้อประเด็น

-การเวียนว่าย
-ธรรมะและความบริสุทธิ์
-พุทธศาสนา
-ชีวิตและกรรม
-การพัฒนาตนเอง
-มุมมองทางปรัชญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หาสาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมบริสุทธิ์ ไม่มีการกระทำของตนเอง ไม่มีการกระทำของผู้อื่น ไม่มีการ กระทำของบุรุษ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตะทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดี เคราะห์ร้าย ตามความประจวบ ตามความเป็นเอง ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้งหกเท่านั้น อนึ่ง กำเนิดที่เป็นประธาน 1,406,600 กรรม 500 กรรม 5 กรรม 3 กรรม 1 กรรมกึ่ง ปฏิปทา 62 อันตรกัป 62 อภิชาติ 6 ปุริสภูมิ 8 อาชีวก 4,900 ปริพาชก 4,900 นาควาส 4,900 อินทรีย์ 2,000 นรก 3,000 รโชธาตุ 36 สัญญีครรภ์ 7 อสัญญีครรภ์ 7 นิคัณฐีครรภ์ 7 เทวดา 7 มนุษย์ 7 ปีศาจ 7 สระ 7 ปวฏะ 7 ปวฏะ 700 เหวใหญ่ 7 เหวน้อย 700 มหาสุบิน 7 สุบิน 700 จุลมหากัป 8,000,000 เหล่านี้ ที่พาลและบัณฑิตเร่ร่อน ท่องเที่ยวไป แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ ความสมหวังว่าเราจักอบรมกรรมที่ยังไม่อำนวยผล ให้อำนวยผล หรือเราสัมผัสถูกต้องกรรมที่อำนวยผลแล้ว จักทำให้สุดสิ้นด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือด้วย พรหมจรรย์นี้ ไม่มีในที่นั้น สุขทุกข์ที่ทำให้มีที่สิ้นสุดได้ เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนาน ย่อมไม่มี ในสงสาร ด้วยอาการอย่างนี้เลย ไม่มีความเสื่อมความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นเลื่อนลง พาลและบัณฑิต เร่ร่อนท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป ย่อมคลี่หมดไปเองฉะนั้น ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูมักขลิโคสาลกลับ พยากรณ์ถึงความบริสุทธิ์ด้วยการเวียนว่าย ฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันถามถึงสามัญญผล ที่เห็นประจักษ์ ครูมักขลิโคสาล กลับพยากรณ์ถึงความบริสุทธิ์ ด้วยการเวียนว่าย เปรียบเหมือนเขาถาม ถึงมะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วงฉะนั้น หม่อมฉันมีความดำริว่า ไฉน คนอย่างเรา จะพึงมุ่งรุกรานสมณะหรือพราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของครูมักขลิโคสาล ไม่พอใจ แต่ก็มิได้เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่ใส่ใจถึงวาจานั้น ลุกจากที่นั่งหลีกไป วาทะของศาสดาอชิตเกสกัมพล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อมฉันเข้าไปหาครูอชิตเกสกัมพล ถึงที่อยู่ ...ได้กล่าวว่า ท่านอชิต ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง... คนเหล่านั้น ย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์ ที่เห็นประจักษ์ เลี้ยงชีพในปัจจุบันด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร อำมาตย์ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญบำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านอาจบัญญัติสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนอย่างนั้นได้หรือไม่ เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูอชิตเกสกัมพล ได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า ภ า ค ผ น ว ก DOU 173
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More