คุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีในพระพุทธศาสนา SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 146
หน้าที่ 146 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายคุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีในพระพุทธศาสนา โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คุณลักษณะเบื้องต้น ได้แก่ การบวชเพื่อฝึกอบรมตน มีการสำรวมกาย วาจา ใจ และศึกษาพระไตรปิฎกเพื่อพัฒนาจิตใจ ในระดับกลาง พระภิกษุควรมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 4 ประการ ได้แก่ การบวชที่มีเป้าหมาย, สำรวมระวังในพระปาติโมกข์, มีอาชีพบริสุทธิ์, และถึงพร้อมด้วยศีล นอกจากนี้ยังมีคุณลักษณะอื่น ๆ เช่น การสำรวมอินทรีย์ เพื่อให้เป็นนักบวชที่ดีทั้งในเบื้องต้นและเบื้องกลาง.

หัวข้อประเด็น

- คุณลักษณะพระภิกษุ
- การบวชอย่างมีเป้าหมาย
- ศึกษาพระไตรปิฎก
- การสำรวมอินทรีย์
- การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การศึกษาสามัญญผลสูตรนี้นอกจากผู้ศึกษาจะได้รับความรู้ในด้านพระธรรมวินัยแล้วยังจะได้ข้อคิด ต่างๆ อีกเป็นอเนกประการ ซึ่งอาจกล่าวโดยย่อได้ ดังนี้ 9.2 คุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีในพระพุทธศาสนา จากสามัญญผลสูตรนี้ เราสามารถแบ่งคุณลักษณะ หรือคุณสมบัติของพระภิกษุที่ดีในพระพุทธ ศาสนาออกได้เป็น 3 ระดับ คือ 9.2.1 ระดับที่ 1 คุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีในเบื้องต้น 1) บวชอย่างมีเป้าหมาย คือ บวชเพื่อฝึกอบรมตนให้เป็นคนดีโดยประการทั้งปวง มีการสำรวม กาย วาจา และใจ มีการศึกษาเพื่ออบรมจิตใจ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ หรือที่เรียกในภาษาศาสนาว่า ภาคปริยัติและปฏิบัติโดยการศึกษาพระไตรปิฎก และการเจริญภาวนาตามวิธีที่ถูกต้อง จนสามารถทำจิตใจให้ สงบและผ่องใสขึ้น อันเป็นเหตุให้เกิดปัญญาขึ้นตามลำดับๆ สามารถเข้าใจซึ้งถึงสัจธรรมของโลกและชีวิต ตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระภิกษุที่ดีต้องบวชอย่างมีเป้าหมายเช่นนี้ 2) สำรวมระวังในพระปาติโมกข์อยู่เสมอ คือ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัย ในโทษแม้เพียงเล็กน้อย และสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย 3) มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของพระภิกษุตามพระพุทธบัญญัติ มีอยู่อย่างเดียว คือการบิณฑบาต ซึ่งเป็นการขอตามแบบอริยประเพณี 4) ถึงพร้อมด้วยศีล คุณสมบัติทั้ง 4 ประการนี้ ย่อมสังเกตเห็นได้จากพฤติกรรมของพระภิกษุแต่ละรูป พระภิกษุรูปใด มีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ ดังได้กล่าวแล้ว ย่อมถือได้ว่า เป็นพระภิกษุที่ดี สมควรได้รับการยกย่อง นับถือ กราบไหว้ และทำนุบำรุงจากฆราวาสโดยทั่วไป กล่าวโดยสรุปได้ว่าคุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีในเบื้องต้นก็คือการที่พระภิกษุบวชอย่างมีเป้าหมาย และเมื่อบวชแล้วก็ฝึกฝนอบรมกาย และวาจาของตนเป็นอย่างดี 9.2.2 ระดับที่ 2 คุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีในเบื้องกลาง พระภิกษุที่มีคุณสมบัติครบถ้วน 4 ประการ ดังกล่าวแล้ว หากสามารถพัฒนาจิตใจขึ้นไปได้อีก 5 ระดับ ดังต่อไปนี้ ย่อมสมควรได้ชื่อว่าเป็นนักบวชที่ดีในเบื้องกลาง 5) สำรวมอินทรีย์ พระภิกษุผู้สำรวมอินทรีย์ คือ ผู้สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เพื่อ บ ท ที่ 9 บ ท ส่ ง ท้ า ย DOU 135
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More