ข้อความต้นฉบับในหน้า
9.8 ใจที่เศร้าหมองย่อมชำระล้างได้ด้วยบุญ
ตามธรรมดาเมื่อสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ของเราเปรอะเปื้อนสิ่งปฏิกูล เราย่อมจะต้องชำระล้างให้
สะอาด เพราะหากทิ้งไว้เช่นนั้น ย่อมเป็นที่น่ารังเกียจ ไม่สามารถนำมาใช้อีกได้ ในที่สุดก็จะเสื่อมคุณภาพ
และไร้คุณค่า อวัยวะในร่างกายของเราก็เช่นเดียวกัน หากสกปรกเลอะเทอะ เราก็จำเป็นต้องชำระล้างให้
สะอาด เพราะถ้าปล่อยหมักหมมให้สกปรกมากขึ้น นอกจากจะเป็นที่รังเกียจของผู้อื่นแล้ว ยังจะเป็น
บ่อเกิดของโรคต่างๆ อีกด้วย ข้อนี้ฉันใด จิตใจคนเราก็ฉันนั้น เมื่อจิตใจเศร้าหมองขุ่นมัว เราก็จำเป็นต้อง
ชำระให้บริสุทธิ์ หากปล่อยทิ้งไว้ อาสวกิเลสก็จะแผดเผาและกัดกร่อนจิตใจหนักขึ้น เสมือนสนิมใน
เนื้อเหล็กฉะนั้น
ได้กล่าวไว้แล้วว่า สาเหตุของ “เชื้อพาล” ซึ่งพาให้คนเราคิดชั่ว พูดชั่ว และทำชั่วทำบาปก็
คือ ใจที่เศร้าหมอง เนื่องจากถูกกิเลสห่อหุ้ม ใครก็ตามที่ก่อกรรมทำบาปไว้ เมื่อเกิดสำนึกผิดในการกระทำ
ของตนได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพราะสำนึกได้เอง หรือเป็นเพราะมีกัลยาณมิตรแนะนำตักเตือน ก็จำเป็นต้อง
รีบชำระล้างความเศร้าหมองไปจากใจโดยเร็ว มิฉะนั้นแล้ว ใจที่ยังไม่บริสุทธิ์หมดจดก็จะนำเรากลับไป
ทำบาปอีก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงชี้แนะเรื่องนี้ไว้ว่า
“บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี จึงห้ามจิตเสียจากบาป เพราะว่า
เมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่ ใจจะยินดีในบาป”
ถ้ามือเปื้อน เราสามารถชำระล้างด้วยน้ำสะอาดได้ แต่ใจที่เศร้าหมองเป็นบาปนั้น จะต้องชำระ
ล้างด้วยบุญ
“บุญ” คืออะไร
ถ้าจะกล่าวโดยส่วนเหตุ “บุญ” หมายถึง ความผ่องแผ้ว ความบริสุทธิ์ ความดีงาม สิ่งที่
เป็นเครื่องชำระล้างกาย วาจา ใจ ให้ปราศจากมลทิน เหมือนน้ำที่ใสสะอาด เป็นน้ำแท้ๆ ไม่เจือปน
ด้วยฝุ่นละอองหรือโคลนตม ย่อมมีอานุภาพในการล้างสิ่งที่แปดเปื้อนด้วยสิ่งโสโครกให้สะอาด นอกจากนี้
ยังมีคุณประโยชน์อย่างอื่นอีกมากมาย สุดจะพรรณนาให้หมดสิ้น ถ้าจะว่าโดยส่วนผล “บุญ” หมายถึง
ความสุข ดังพุทธภาษิตว่า
“ภิกษุทั้งหลายเธออย่ากลัวบุญเลย คำว่าบุญนั้นเป็นชื่อของความสุข”
จากความหมายของคำว่า “บุญ” นี้ ย่อมชี้ให้เห็นว่า ใจที่เศร้าหมองเป็นบาปนั้น จำเป็นจะต้อง
ชำระล้างด้วยบุญ นั่นคือบุคคลจะต้องประพฤติปฏิบัติแต่ความดีหรือกุศลกรรมทั้งปวง ซึ่งอาจจะยึดหลัก
ทาน ศีล ภาวนา หรือศีล สมาธิ ปัญญา ก็ย่อมจะทำให้ใจบริสุทธิ์ได้
- ขุ. ธ. 25/19/30
* ปุญญวิปากสูตร อง. สตฺตก. 23/59/90
148 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ