พระพุทธคุณและวิชชา 8 ประการ SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 65
หน้าที่ 65 / 209

สรุปเนื้อหา

พระพุทธคุณแบ่งออกเป็นองค์ 2 คือ วิชชา และจรณะ โดยวิชชาหมายถึงความรู้ที่กำจัดความมืดหรืออวิชชา ส่วนจรณะเป็นข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชา ซึ่งมีองค์รวม 15 อย่าง เช่น ศีลสังวร อินทรียสังวร เป็นต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ถึงพร้อมในวิชชา 8 ประการ ซึ่งทำให้สามารถรู้เห็นความเป็นไปของสรรพสิ่งได้อย่างถูกต้อง ช่วยในการกำจัดความมืดมนให้หมดสิ้นไป ด้วยวิชชาและจรณะที่ทรงปฏิบัติและสอนให้ผู้ปฏิบัติตามได้.

หัวข้อประเด็น

-วิชชา 8 ประการ
-การบรรลุวิชชา
-จรณะและข้อปฏิบัติ
-การกำจัดอวิชชา
-พระพุทธคุณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5.4.3 ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ พระพุทธคุณข้อนี้ประกอบด้วยองค์ 2 คือ วิชชา และจรณะ วิชชา ในที่นี้หมายถึง “ความรู้ที่กำจัดความมืด” ความมืด หรืออวิชชา หมายถึงความมืดมนอยู่ ด้วยกิเลส สรรพสัตว์ที่ยังมืดมนอยู่ด้วยกิเลส ย่อมดำเนินชีวิตผิดพลาด จึงต้องรับผลกรรม เวียนว่าย ตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารโดยหาทางออกไม่ได้ ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ทรงเป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยวิชชา 8 ประการ อันทำให้พระองค์ รู้เห็นความเป็นไปของสรรพสิ่ง อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง จึงทรงกำจัดความมืดมนได้อย่างสิ้นเชิง วิชชา 8 ประกอบด้วย 1) วิปัสสนาญาณ คือ ญาณที่ทำให้เข้าใจสังขารตามความเป็นจริง 2) มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์ทางใจ 3) อิทธิวิธี คือ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ 4) ทิพพโสต คือ หูทิพย์ 5) เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่ทำให้กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ 6) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ 7) ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์ 8) อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทำให้กิเลสอาสวะหมดสิ้น จรณะ คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชา มีองค์ 15 ได้แก่ 1) ศีลสังวร คือ การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ 2) อินทรียสังวร คือ การสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มิให้อารมณ์ส่วนที่จะ ชักนำไปทางชั่วเข้าติดอยู่ได้ สังวรเหล่านี้มีประจำพระองค์เป็นปรกติอยู่เสมอ ไม่จำต้องพยายามฝืนอย่าง ปุถุชนทั้งหลาย 3) โภชเนมัตตัญญุตา คือ การรู้ประมาณในการบริโภคให้พอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป เป็นจริยา ที่เราควรเจริญรอยตามว่า การบริโภคอาหารถ้ามากเกินไป แทนที่จะเป็นคุณแก่ร่างกาย กลับเป็นโทษ 4) ชาคริยานุโยค คือ การประกอบความเพียรที่ทำให้ตื่นอยู่เสมอ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้สึก พระองค์อยู่เสมอ นิวรณ์เข้าครอบงำไม่ได้ 54 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More