บทบาทของแคว้นมคธในพุทธศาสนา SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 24
หน้าที่ 24 / 209

สรุปเนื้อหา

แคว้นมคธในสมัยพุทธกาลเป็นแหล่งรวมความเจริญรุ่งเรืองและเป็นที่ตั้งของพระพุทธศาสนา พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้มีปรีชาสามารถที่บริหารแคว้น และสร้างเวฬุวันมหาวิหาร ขณะที่พระเจ้าอชาตศัตรูมีความหลงผิดนำไปสู่การกระทำผิดร้ายแรงแต่สุดท้ายได้หันมากลับสู่พระรัตนตรัย โดยได้แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเป็นที่มาของสามัญญผลสูตร.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของแคว้นมคธ
-บทบาทของพระเจ้าพิมพิสาร
-ความสัมพันธ์กับพระเทวทัตและพระเจ้าอชาตศัตรู
-ที่มาของสามัญญผลสูตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. แคว้นมคธในสมัยพุทธกาลนั้นได้รับการยกย่องว่า เป็นแว่นแคว้นมหาอำนาจ และขึ้นชื่อว่า เป็นแว่นแคว้นที่อุดมสมบูรณ์ยิ่ง มีเมืองหลวงชื่อ กรุงราชคฤห์ อันเป็นที่เลื่องลือว่า เป็นนครแห่งความร่ำรวย มั่งคั่งมหาศาล เป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญรุ่งเรืองทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และลัทธิต่างๆ รวมทั้งเป็นที่ชุมนุมของเหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิต ด้วยเหตุนี้เอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ณ แคว้นนี้เป็นแห่งแรก 2. พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้ปกครองแคว้นที่มีปรีชาสามารถ และยังเป็นผู้ทรง ทศพิธราชธรรม เพราะพระองค์ทรงบรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน จึงทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ทรงถวายพระราชอุทยานเวฬุวันสร้างเป็นวัดชื่อ เวฬุวันมหาวิหาร นับเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา 3. พระเจ้าอชาตศัตรูราชกุมารของพระเจ้าพิมพิสารได้กระทำปิตุฆาต ซึ่งเป็นอนันตริยกรรม ด้วย ความหลงผิด หลงเชื่อ เพราะยกย่องบูชานักบวชเทวทัต เมื่อทรงสำนึกผิดแล้วทำให้พระองค์ทรงสงสัยว่า เหตุใดนักบวชเทวทัตที่พระองค์ทรงเห็นว่า เป็นผู้ทรงศีล และยังทรงเป็นพระญาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ชักนำพระองค์ให้ก่อกรรมทำบาปอย่างอุกฤษฏ์ถึงเพียงนี้ พระองค์จึงทรงสงสัยเป้าหมายของนักบวช ถึงกับตระเวนไปพบบรรดาครูเจ้าลัทธิหลายสำนัก แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบ จนกระทั่งเมื่อได้เข้าเฝ้าพระสัมมา สัมพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงได้รับคำตอบอันกระจ่างแจ้ง และขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดพระชนมชีพ อันเป็นที่มาของสามัญญผลสูตร วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึง ความสำคัญของแว่นแคว้น ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประดิษฐาน พระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรก 2. เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึงเหตุแห่งความริษยาของพระเทวทัตถึงกับยุยงให้อชาตศัตรูราชกุมาร ทรงกระทำปิตุฆาต 3. เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึงที่มาแห่งสามัญญผลสูตร บ ท ที่ 2 ที่ ม า แ ห่ ง ส า ม ญ ญ ผ ล สู ต ร DOU 13
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More