การเข้าใจวิญญาณและอินทรียสังวร SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 101
หน้าที่ 101 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความหมายของการเห็นและฟังผ่านจักษุและโสตที่สัมพันธ์กับวิญญาณ รวมถึงการสำรวมจักษุนทรีย์ด้วยสติ เพื่อหลีกเลี่ยงการถือนิมิตและอนุพยัญชนะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดกิเลส และอธิบายถึงอกุศลธรรมอันลามก เช่น อภิชฌาและโทมนัส ที่ทำให้เกิดการประพฤติไม่ดีตามหลักธรรม.

หัวข้อประเด็น

-วิญญาณและการรับรู้
-การไม่ถือนิมิต
-การสำรวมจักขุนทรีย์
-อินทรียสังวร
-อกุศลธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วิญญาณ” ดังนั้นเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “เห็นรูปด้วยจักษุ” ย่อมหมายถึง “เห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ” ในทำนองเดียวกัน เมื่อพระองค์ตรัสว่า “ฟังเสียงด้วยโสต” ย่อมหมายถึง “ฟังเสียงด้วยโสต “ดมกลิ่นด้วยฆานะ” ย่อมหมายถึง “ดมกลิ่นด้วยฆานวิญญาณ” “ลิ้มรสด้วยชิวหา” ย่อมหมายถึง “ลิ้มรสด้วยชิวหาวิญญาณ” “ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย” ย่อมหมายถึง “ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายวิญญาณ” “รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ” ย่อมหมายถึง “รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยมโนวิญญาณ” นั่นเอง ส่วนคำว่า “ไม่ถือนิมิต” คือ ไม่ถือเครื่องหมายซึ่งมีอยู่ในอายตนะภายนอก เช่น ไม่สนใจว่าเป็น หญิงหรือชาย หรือไม่ใส่ใจเครื่องหมายอันเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดกิเลส เช่น ไม่สนใจว่างาม เป็นต้น ดังนั้น การ ไม่ถือนิมิตก็คือ การยั้งหยุดอยู่ในอาการสักแต่ว่าเห็นเท่านั้น ไม่เก็บไปคิดนึกปรุงแต่งต่อไปอีก “ไม่ถืออนุพยัญชนะ” คือ ไม่ถือลักษณะเล็กๆ น้อยๆ อันเป็นเครื่องประกอบของอายตนะภายนอก เช่น ลักษณะของมือ เท้า หน้าตา การพูด การหัวเราะ การฉอเลาะ หรืออากัปกิริยาอื่นๆ ซึ่งจะก่อให้เกิด กิเลส โดยสรุปก็คือ เมื่อได้เห็นองค์ประกอบเล็กๆ น้อยๆ ของอายตนะภายนอก ก็ยังหยุดอยู่สักแต่ว่าเห็น ไม่เก็บไปคิดนึกปรุงแต่งวิพากษ์วิจารณ์ต่อไปอีก เพราะจะทำให้กิเลสกามเฟื่องฟูขึ้นในใจ “สำรวมจักขุนทรีย์” โดยรูปศัพท์ แปลว่า “สำรวมตา” แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องปิดตา เพื่อ ไม่ดูอะไร เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่ขณะใดที่ลืมตาย่อมมีสิ่งมากระทบตาเรามากมาย ดังนั้น พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้ใช้สติเป็นเครื่องปิดตาใช้สติเป็นเครื่องสำรวมใช้สติเป็นเครื่องคุ้มครองความ คิด ในขณะที่เราเห็นหรือดูสิ่งต่างๆ โดยเว้นขาดจากการถือนิมิตและอนุพยัญชนะ ดังที่ตรัสว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์....” สำหรับการสำรวมอินทรีย์อื่นอีก 5 อย่าง ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน คือ ใช้สติเป็นเครื่องคุ้มครอง ด้วยเหตุนี้โบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า “อินทรียสังวรศีล พึงสำเร็จได้ด้วยสติ” คำว่า “อกุศลธรรมอันลามก” ได้แก่ อภิชฌาและโทมนัส “อภิชฌา” ตามรูปศัพท์แปลว่า โลภอยากได้ของเขา ความคิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาของของคนอื่น “โทมนัส” ตามรูปศัพท์แปลว่า ความเสียใจ ความทุกข์ใจ ดังนั้น “อภิชฌาและโทมนัส” จึงจัดว่า เป็นอกุศลธรรมอันลามก เพราะความโลภอยากได้ของของ คนอื่นนั้น ย่อมนำไปสู่การประพฤติทุศีล ทำให้ประกอบอาชีพไม่บริสุทธิ์ ถ้าได้ของมาดังใจหมาย ของนั้นก็ 90 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More