ข้อความต้นฉบับในหน้า
8.3 สามัญญผลลำดับที่ 2
เมื่อผู้เจริญภาวนาบรรลุวิปัสสนาญาณแล้ว ถ้ายังสามารถประคับประคองจิตให้เป็นสมาธิ แน่วแน่
ต่อไปอีก จิตย่อมบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ผ่องแผ้ว สุกสว่างยิ่งขึ้น ปราศจากกิเลสและอุปกิเลส จึงมีประสิทธิภาพ
ในการงานยิ่งขึ้น หากน้อมจิตไปเพื่อให้ได้ฤทธิ์ทางใจ ฤทธิ์ทางใจก็จะบังเกิดขึ้น จะนึกให้เป็นอย่างไรก็เป็นไป
ตามนึก ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรูว่า
“ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ
นิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจมีอวัยวะน้อย
ใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง....
...มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึง
คิดอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ใส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง แต่ก็เป็น
ไส้ที่ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบ
ออกจากฝัก เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง
แต่ก็เป็นดาบที่ชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่งเปรียบเหมือนบุรุษจะพึงดึงงู
ออกจากคราบ เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่า นี้ นี้คราบ แต่ก็เป็นงูที่ดึงออกจาก
คราบนั่นเอง ข้อนี้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล...
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส นุ่มนวล
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เธอย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูป
อันเกิดแต่ใจ คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่
ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง มหาบพิตร นี้แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ”
จากพระพุทธดำรัสนี้จะเห็นว่า สามัญญผลในลำดับถัดจาก “วิปัสสนาญาณ” ก็คือ “ฤทธิ์ทางใจ”
หรือมีศัพท์ทางศาสนาว่า “มโนมยิทธิ” ซึ่งเป็นผลจากใจที่บริสุทธิ์มากขึ้น และส่งผลให้ผู้เจริญภาวนามี
ฤทธานุภาพ ถึงขั้นนิรมิตกายต่างๆ ได้
อย่างไรก็ดี ณ จุดนี้ยังมีข้อที่ควรพิจารณาว่า เป้าหมายของการเจริญภาวนานั้น คือ การทำจิต
ให้บริสุทธิ์ขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งจิตบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งปวง หรือบรรลุอรหัตตผล มิใช่มีเป้าหมาย
เพื่อฤทธานุภาพใดๆ ทั้งสิ้น ฤทธานุภาพที่เกิดขึ้น เป็นเพียงผลพลอยได้จากการทำใจให้บริสุทธิ์เท่านั้น
*สามัญญผลสูตร ที. ส. 9/132/102
120 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ