การเคารพพระภิกษุสงฆ์และการเลือกตามหลักธรรม SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 55
หน้าที่ 55 / 209

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการเคารพพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา โดยเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการใช้วิจารณญาณในการเลือกเคารพพระภิกษุซึ่งปฏิบัติตามหรือไม่ตามหลักธรรมวินัย ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาตนเองของพระภิกษุที่ไม่ปฏิบัติถูกต้อง และการดึงดูดใจชาวพุทธให้สำนึกถึงบทบาทของตนในการบำรุงรักษาประเพณีและพระธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-การเคารพพระภิกษุสงฆ์
-วิจารณญาณในศาสนา
-การปฏิบัติของพระภิกษุ
-ธรรมวินัยในพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด กรณีเช่นนี้ย่อมกล่าวได้ว่า “อกุศลกรรมชักนำไปสู่กุศลกรรม” สำหรับข้อสังเกตประการที่สอง คือ การที่พระเจ้าอชาตศัตรูไม่ทรงส่งเสริม และไม่รุกรานนักบวช ที่มีคำสอนเป็นมิจฉาทิฏฐิ น่าจะเป็นข้อคิดสำคัญสำหรับสภาพสังคมในปัจจุบัน กล่าวคือ ในประเทศไทย นั้น เราถือว่าเรามีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ประชากรส่วนใหญ่ของชาติเป็นพุทธศาสนิกชน พระภิกษุตามวัดต่างๆ ตลอดจนตามสำนักสงฆ์ต่างๆ ทั่วประเทศ ย่อมได้รับการทำนุบำรุงจากพุทธศาสนิกชน ทั้งปวง ชาวพุทธทั้งหลายเมื่อไปเคารพกราบไหว้พระภิกษุสงฆ์ จำเป็นจะต้องมีวิจารณญาณ มีวินิจฉัยว่าการ ประพฤติปฏิบัติ และคำเทศน์สอนของพระภิกษุที่ท่านไปเคารพกราบไหว้นั้น มีความเหมาะสมหรือไม่ เป็น มิจฉาทิฏฐิหรือไม่ ถูกต้องตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ หากเห็นว่าพระภิกษุ ที่ท่านไปเคารพกราบไหว้หรือทำนุบำรุง ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ก็ควรลาจากไปอย่างสงบ ทำนองเดียวกับที่พระเจ้าอชาตศัตรูทรงปฏิบัติ เพียงแต่ญาติโยมงดเว้นการบำรุงพระภิกษุที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยเสียเท่านั้น บรรดาพระทุศีลผู้ปฏิบัติย่อหย่อนในพระธรรมวินัย หรือสั่งสอนนอกลู่นอกทาง ย่อมจะต้องปรับปรุงและ พัฒนาตนเองให้ตั้งอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างแท้จริง หรือมิฉะนั้นก็คงจะต้องลาสิกขาออกไป ไม่ยึดเอา เครื่องแต่งกายของบรรพชิตเป็นเครื่องมือหาเลี้ยงชีพด้วยการเบียดเบียนประชาชน และบ่อนทำลาย พระพุทธศาสนาเรื่อยไป สำหรับลักษณะของพระภิกษุผู้ปฏิบัติถูกต้องตามพระธรรมวินัยนั้น จะได้กล่าวในลำดับต่อไป กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 4 ปัญหาค้างพระทัยของพระเจ้าอชาตศัตรู จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนและกิจกรรมบทที่ 4 แล้วจึงศึกษาบทที่ 5 ต่อไป 44 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More