หลักปฏิบัติตามมงคล 6 ประการในพระพุทธศาสนา SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 165
หน้าที่ 165 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอหลักปฏิบัติตามมงคล 6 ประการซึ่งรวมถึงการไม่คบคนพาล, การคบบัณฑิต, การบูชาผู้ที่ควรบูชา, การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม, การตั้งใจสั่งสมบุญบารมี, และการมีเป้าหมายในชีวิตที่ถูกต้อง นักศึกษาควรมีความตั้งใจในการสร้างบุญและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เพื่อที่จะมีชีวิตที่สงบสุขและมีคุณค่าในสังคม ทั้งหมดนี้ช่วยส่งเสริมการดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามแนวทางพระพุทธศาสนา และสามารถสร้างสุขให้กับตนเองได้ในอนาคต

หัวข้อประเด็น

-หลักปฏิบัติตามมงคล
-การสร้างบุญ
-การคบบัณฑิต
-คุณธรรม
-การเลือกที่อยู่
-เป้าหมายชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ต่อไปได้ ทั้งนี้ย่อมหมายถึงความสิ้นสุดของพระพุทธศาสนา ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่โดยตรงของชาวพุทธ ทุกคนที่จะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา 5) หลักปฏิบัติตามมงคล 6 ประการ คือ (1) ไม่คบคนพาล พ่อแม่ต้องสอนลูกให้ดูคนเป็น เพื่อจะได้สามารถเลือกคบคนได้ถูกต้อง เมื่อจะมีคู่ครอง ก็สามารถเลือกคนดีมาเป็นคู่ชีวิต โดยอเนกอนันต์ (2) คบบัณฑิต บัณฑิต คือ ผู้บริบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา การคบบัณฑิตย่อมมีแต่คุณ (3) บูชาบุคคลที่ควรบูชา เช่น พระพุทธเจ้า พระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงทศพิธราชธรรม มารดาบิดา ญาติผู้ใหญ่และครูอาจารย์ที่ทรงคุณธรรม ตลอดจนผู้บังคับบัญชาที่มี ความประพฤติดีงาม การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ย่อมหมายความว่า ผู้บูชาได้พยายามดำเนินรอยตามบุคคล เหล่านันด้วย (4) อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม หมายถึง ถิ่นที่มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม ทั้งด้านภูมิอากาศ การ ประกอบอาชีพ การศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม ตลอดจนลัทธิการปกครอง ทั้งไม่ใช่ถิ่นที่มีโจรผู้ร้ายชุกชุม (5) ตั้งใจสั่งสมบุญบารมี บุญที่เราทำในปัจจุบันย่อมส่งผลดีให้เราในอนาคต ความสุขที่เรา ได้รับในปัจจุบัน ย่อมเป็นผลเนื่องมาจากบุญที่เราทำไว้ในอดีต ดังนั้นเราจึงควรสั่งสมบุญ ทำความดีเรื่อยไป แล้วบุญทั้งหลายที่เราสร้างไว้ย่อมจะส่งผลให้เรามีสติปัญญาดี มีความเฉลียวฉลาด มีความเจริญก้าวหน้า ต่อไปในอนาคต และมีความสุขในชีวิต ดังพุทธดำรัสว่า “การสั่งสมบุญ นำสุขมาให้” และ “บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า” เมื่อบุคคลมีศรัทธามั่นอยู่กับการสร้างบุญแล้ว แน่นอนเหลือเกินว่า บุญนั้นย่อมเป็นเกราะกำบัง บุคคลให้พ้นจากการสร้างบาปทั้งปวง (6) มีเป้าหมายชีวิตถูกต้อง บุคคลที่ได้รับการปลูกฝังคุณธรรม ดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แล้ว ย่อมเชื่อมั่นได้ว่าจะเป็นผู้มีโยนิโสมนสิการ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ทั้งสามารถประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีชีวิตอยู่อย่างสงบสุขและมีคุณค่า ต่อสังคม อย่างไรก็ตาม ถ้าบุคคลได้รับการปลูกฝังอบรมคุณธรรมอื่นๆ มากมาย เช่น เรื่องความสะอาด 1 ขุ. ธ. 25/19/30 2 พิลารโกสิยชาดก ขุ. ชา. 27/1446/294 154 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More