ข้อความต้นฉบับในหน้า
คุ้มครองรักษาใจให้รอดพ้นจากการถูกครอบงำ ด้วยอภิชฌาและโทมนัส การสำรวมอินทรีย์ แท้ที่จริงคือ
การสำรวมใจนั่นเอง
6) ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ไม่ปล่อยใจเลื่อนลอย หรือเผลอสติ
7) เป็นผู้สันโดษ พระภิกษุผู้สันโดษจะต้องมีความพอใจตามมีตามได้ ไม่เที่ยวออกปากขอโน่น
ขอนี่จากญาติโยม หากพระภิกษุเป็นผู้สันโดษ ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา ทั้งยังทำให้จิตใจคลายจาก
ความกังวล และความยึดมั่นถือมั่น สามารถชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ได้โดยง่าย
8) ละนิวรณ์ 5 ได้ ข้อนี้แม้เป็นเรื่องภายในจิตใจ เฉพาะตัวพระภิกษุเองก็ตาม แต่ก็อาจสังเกตได้
จากวัตรปฏิบัติหรือการแสดงออกของท่าน เช่น ไม่แสดงความโกรธความเกลียดบุคคลอื่น ไม่แสดงความหดหู
ท้อแท้หรือเบื่อหน่ายชีวิต ไม่แสดงความลังเลสงสัยในพระธรรมวินัย เป็นต้น หากแต่เป็นผู้ที่มีวัตรปฏิบัติ
สงบสำรวม อาจหาญ ร่าเริง อิ่มเอิบในธรรม สามารถให้กำลังใจ หรือชี้ทางสว่างให้แก่ฆราวาสได้
9) บรรลุรูปฌาน สำหรับเรื่องนี้คงเป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก เพราะหากพระภิกษุบอกเล่าถึงคุณวิเศษ
เหล่านี้ของตน ก็จะเป็นการผิดพระวินัย
อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนานั้น ถือว่าใจคนเราสำคัญยิ่งนัก ดังพุทธศาสนสุภาษิตว่า “ธรรม
ทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า” ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงเน้นการพัฒนาจิตใจ ด้วยการเจริญภาวนา ซึ่งเป็น
วิธีเดียวที่จะตะล่อมใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ถ้าใจเราหยุดนิ่งแน่นที่ศูนย์กลางกายได้เมื่อใด
เมื่อนั้นใจก็จะประภัสสร คือ สว่างโพลง ภิกษุรูปใดที่มีใจสงบ สว่าง ในขั้นต้น ย่อมหมายความว่าท่านละ
นิวรณ์ อันเป็นกิเลสอย่างกลางได้แล้ว สามารถบรรลุรูปฌานขั้นต้นได้ ถ้าท่านสามารถพัฒนาให้ใจสว่างขึ้น
อีกได้ ก็ย่อมบรรลุฌานขั้นสูงขึ้นไปเป็นลำดับๆ
ความสว่างในจิตใจของพระภิกษุผู้บรรลุรูปฌานนี้ นอกจากจะยังผลให้ท่านมีกิริยาวาจาสงบสำรวม
อย่างยิ่งทั้งสามารถแสดงธรรมให้เข้าใจได้ง่ายแล้ว หน้าตาผิวพรรณของท่านยังจะผ่องใสจนสังเกตได้อีกด้วย
กล่าวโดยสรุปได้ว่า คุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีในเบื้องกลางก็คือ การที่พระภิกษุสามารถฝึกอบรม
จิตใจของตนได้นั่นเอง
9.2.3 ระดับที่ 3 คุณลักษณะของพระภิกษุที่ดีในเบื้องสูง
พระภิกษุที่ดีในเบื้องสูงนั้น หมายถึง พระภิกษุที่มีความรู้แจ้ง หรือความรู้วิเศษ อันได้แก่ วิชชา 3
อภิญญา 6 และวิชชา 8
ขุ. ธ. 25/11/15
136 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ