สันโดษและอัปปิจฉา SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 107
หน้าที่ 107 / 209

สรุปเนื้อหา

เรื่องราวเกี่ยวกับคำว่า 'สันโดษ' ซึ่งหมายถึง ความยินดีในของของตน พร้อมอธิบายถึงความแตกต่างระหว่าง 'สันโดษ' และ 'อัปปิจฉา' ที่หลายคนเข้าใจผิดว่าเหมือนกัน นอกจากนี้ยังยกตัวอย่างความรักในครอบครัวและสถาบันต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ความพอใจในสิ่งที่เรามีสามารถนำไปสู่การพัฒนาและสร้างสรรค์ให้เจริญยิ่งขึ้น ตลอดจนเน้นถึงความสำคัญของสันโดษในเชิงปฏิบัติเอง ไม่เพียงแต่ในพระพุทธศาสนาและการส่งเสริมคุณธรรมในตัวบุคคล

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของสันโดษ
-ความแตกต่างของสันโดษและอัปปิจฉา
-ความพอใจในสิ่งที่มี
-การพัฒนาตนเองในทางธรรม
-สันโดษในบริบทของสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“สันโดษ” คือ ความยินดีในของของตน พอใจด้วยปัจจัย 4 คือ ผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่นอน ที่นั่ง และ ยา ตามมีตามได้ การมีความสุขความพอใจด้วยเครื่องเลี้ยงชีพที่หามาได้ ด้วยความเพียรพยายามอัน ชอบธรรมของตน ไม่โลภ ไม่ริษยาใคร มีธรรมอยู่ 2 ข้อ คือ “สันโดษ” (ความยินดีในของของตน) กับ “อัปปิจฉา” (ความมักน้อย) ซึ่ง คนส่วนมากเข้าใจสับสนกันอยู่ จึงเอาธรรม 2 ข้อนี้ไปรวมกัน คือ ชอบพูดว่า “สันโดษมักน้อย” เลยทำให้ เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า สันโดษ คือความมักน้อย เกิดความเข้าใจว่า ธรรมข้อนี้สอนให้คนเราอยากมี อะไรน้อยๆ และยินดีตามที่ตนมีตนได้ ได้อย่างไรก็พอใจอยู่แค่นั้น เมื่อเกิดความเข้าใจอย่างนี้แล้วก็มักคิด เลยเถิดไปว่า ธรรมข้อนี้เป็นเครื่องถ่วงความเจริญก้าวหน้าของตนและประเทศชาติ บางคนยังเกิดความ เข้าใจวิปลาสออกไปถึงขนาดกล่าวว่า พระพุทธศาสนาสอนให้คนเกียจคร้าน ความจริงธรรม 2 ข้อนี้ มีความหมายตามหลักพระพุทธศาสนา ดังนี้ “สันโดษ” คือ ความยินดี พอใจในของที่ตนมี “อัปปิจฉา” คือ ความมักน้อย ถ้ามีคำถามว่า การที่พ่อแม่รักลูก พอใจในลูกของตนนั้นเป็นสิ่งที่ดีไหม การที่สามีพอใจในภรรยา ของตนเป็นสิ่งที่ดีไหม ภิกษุรักวัดของตนเป็นสิ่งที่ดีไหม พลเมืองรักชาติบ้านเมืองของตนเป็นสิ่งที่ดีไหม คําตอบก็คือ เป็นสิ่งที่ดี ของที่ตนมี” ผู้ที่มีความพอใจในของของตน ก็คือผู้มีสันโดษ ซึ่งสำนวนในพระพุทธศาสนาท่านใช้ว่า “ยินดีใน เมื่อเราพอใจในบุคคลหรือสถาบันใดๆ แล้ว เราย่อมป้องกันรักษา ทำนุบำรุง และส่งเสริมให้เจริญ ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า สันโดษทำให้เจริญ ในทางตรงกันข้าม ความไม่สันโดษย่อมทำให้ เสื่อม เช่น ชายที่มีภรรยาแล้วก็ไม่พอใจในภรรยาตน กลับไปรักหญิงอื่นหรือภรรยาคนอื่น หรือในเรื่อง ทรัพย์สินเงินทอง ตลอดจนตำแหน่งหน้าที่การงานก็เช่นเดียวกัน ถ้าขาดสันโดษก็อาจเป็นเหตุให้เกิด การฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือการรับสินบนได้ ทั้งนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนให้เราไม่คิดปรับปรุง ตนเองให้เจริญก้าวหน้า แต่ทรงสอนให้เราพอใจตามมีตามได้และแสวงหาโดยสุจริตเท่านั้น พระพุทธศาสนาได้จัด “สันโดษ” เป็นนาถกรณธรรม คือ ธรรมอันเป็นที่พึ่งด้วยข้อหนึ่ง เพราะ เป็นธรรมที่ช่วยปรับปรุงตัวเราให้เป็นคนขยัน ไม่ดูถูกตนเอง มีความพอใจและเชื่อมั่นในตนเอง ทั้งป้องกัน ตัวเอง ไม่ให้ประพฤติผิดศีลธรรมและกฎหมายได้ด้วย สันโดษในแง่ที่เป็นธรรมปฏิบัติของภิกษุนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ อรรถกถาสามัญญผลสูตร ที. อ. 4/215/184 96 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More