วิชชาและอภิญญาในพุทธศาสนา SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 148
หน้าที่ 148 / 209

สรุปเนื้อหา

วิชชา 3 ประกอบด้วย ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ, จุตูปปาตญาณ, อาสวักขยญาณ ซึ่งเป็นญาณสำคัญในการทำให้ระลึกชาติและเข้าใจการเกิดและการตายของสัตว์ทั้งหลาย ในขณะที่อภิญญา 6 รวมถึงอิทธิวิธี, ทิพพโสต, และเจโตปริยญาณทำให้สามารถแสดงฤทธิ์และรู้ใจผู้อื่นได้ นอกจากนี้ วิชชา 8 ซึ่งรวมถึงวิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาจิตไปสู่การบรรลุธรรมสูงสุด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรม และผู้ที่กระทำเช่นนั้นจะต้องได้รับโทษหนักถึงขั้นขาดจากความเป็นภิกษุ

หัวข้อประเด็น

-วิชชา 3
-อภิญญา 6
-วิชชา 8
-การบรรลุธรรมในพุทธศาสนา
-ข้อห้ามจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วิชชา 3 ประกอบด้วย 1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ญาณหรือความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้ 2. จุตูปปาตญาณ คือ ญาณที่ทำให้รู้เรื่องการเกิดและการตายของสัตว์ทั้งหลาย หรือ ญาณพิเศษที่ทำให้ดูอะไร เห็นได้หมดตามความปรารถนา 3. อาสวักขยญาณ คือ ญาณหยั่งรู้อริยสัจ 4 ทำให้สิ้นอาสวกิเลส อภิญญา 6 ประกอบด้วย 1. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ เช่น นิรมิตกายคนเดียวให้เป็นหลายคนได้ 2. ทิพพโสต คือ หูทิพย์ 3. เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่สามารถรู้ใจคนอื่นได้ 4. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้ 5. ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์ หรือจุตูปปาตญาณ 6. อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำอาสวกิเลสให้สิ้น วิชชา 8 ประกอบด้วย 1. วิปัสสนาญาณ คือ ญาณในวิปัสสนา ที่จะพยุงจิตของผู้บรรลุธรรมกายโคตรภูขึ้นไป สู่ธรรมกายพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และ พระอรหัตต์ไปตามลำดับ 2. มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์ทางใจ ทำให้สามารถนิรมิตกายอื่นจากร่างกายของตนได้ 3. อิทธิวิธี คือ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ เช่น นิรมิตกายคนเดียวให้เป็นหลายคนได้ 4. ทิพพโสต คือ หูทิพย์ 5. เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่สามารถรู้วาระจิตคนอื่นได้ 6. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สามารถระลึกชาติได้ 7. ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์หรือจุตูปปาตญาณ 8. อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำอาสวกิเลสให้สิ้น วิชชา 3 อภิญญา 6 หรือวิชชา 8 เหล่านี้จัดว่าเป็น “อุตตริมนุสสธรรม” คือ ธรรมอันยวดยิ่ง ของมนุษย์ หรือธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามภิกษุบอก หรือแสดงแก่ผู้อื่นว่าตน บรรลุความรู้วิเศษเหล่านี้ ดังมีคำที่เรามักได้ยินกันอยู่เสมอว่า “ห้ามอวดอุตตริมนุสสธรรม” ถ้าภิกษุรูปใด กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน จะต้องได้รับโทษหนัก ซึ่งมีคำศัพท์โดยเฉพาะว่า “ต้องอาบัติปาราชิก ที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุทันที” แม้พระภิกษุที่บรรลุคุณวิเศษเหล่านี้ ถ้าหากกล่าวอวดอ้างย่อมถูก บ ท ที่ 9 บ ท ส่ ง ท า ย DOU 137
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More