ข้อความต้นฉบับในหน้า
4.5 การปฏิบัติตนของพระเจ้าอชาตศัตรูต่อเจ้าลัทธิต่าง ๆ
จากเรื่องราวที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าพระเจ้าอชาตศัตรูทรงปรีชาชาญฉลาดมิใช่น้อยเลย เพราะ
ทรงสามารถสำนึกผิดในอกุศลกรรมที่ทรงก่อไว้
ไม่ทรงปล่อยพระองค์ให้ถลำลึกลงไปในวังวนแห่งอกุศลกรรม
อีกต่อไป แต่ทรงพยายามขวนขวายแสวงหาทางแก้ไข โดยเสด็จไปหาความจริงจากเจ้าลัทธิต่างๆ มี
สำนักครูทั้ง 6 ดังกล่าวแล้ว
ครั้นพระเจ้าอชาตศัตรูได้ฟังคำสอนของครูทั้ง 6 ก็ทรงมีปรีชาสามารถวินิจฉัยได้ว่า คำสอน
ของเจ้าลัทธิแต่ละท่านนั้นไม่น่าเลื่อมใสศรัทธา กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นคำสอนที่เป็น “มิจฉาทิฏฐิ” นั่นเอง
แล้วเสด็จลาจากมาโดยอาการสงบ เพราะไม่ทรงปรารถนาจะรุกรานนักบวช
การปฏิบัติของพระเจ้าอชาตศัตรูต่อเจ้าลัทธิเหล่านั้น มีข้อสังเกตสำคัญ 2 ประการ คือ
1. ทรงมีวินิจฉัยคำสอนของครูทั้ง 6 ด้วยปรีชาชาญ
2. ไม่ทรงส่งเสริมนักบวชที่ไม่ทรงเลื่อมใสศรัทธา แต่ก็ไม่ทรงรุกราน
ข้อสังเกตประการแรกนั้น อาจมีผู้ถามว่า เหตุใดในครั้งที่ทรงเป็นราชกุมารคบหาสมาคมกับพระ
เทวทัตอยู่นั้น จึงทรงปฏิบัติราวกับไร้สติปัญญา ทรงกระทำตามคำแนะนำอันชั่วช้าสามานย์ของพระทุศีล
เทวทัต อย่างไร้ความละอายต่อบาปเล่า
ถ้ายึดหลักธรรมชาติของมนุษย์ปุถุชน หรือผู้ที่ยังมีกิเลส โดยทั่วไปแล้ว อาจตอบคำถามดังกล่าว
ได้ว่า พระทัยของเจ้าชายอชาตศัตรูในขณะนั้นมืดมนด้วยอำนาจกิเลส เสมือนหนึ่งผู้ที่ตกอยู่ในห้วงแห่ง
ความมืดมิด ขาดแสงสว่าง หาทางออกไม่ได้ สุดแล้วแต่ใครจะฉุดกระชากลากไป
กิเลสตัวสำคัญ คือ “ความหลง” ความหลงประการแรกของอชาตศัตรูราชกุมารก็คือ ความ
เลื่อมใสในปาฏิหาริย์ของพระเทวทัต จนเชื่ออย่างสุดพระทัยว่า พระเทวทัตนั้นเลิศกว่าใครๆ ในโลกนี้ และ
อีกประการหนึ่งก็คือ ทรงหลงเชื่อคำยุยงของพระเทวทัต เพราะทรงเยาว์วัย ขาดความจัดเจนต่อโลก จึง
ไม่ทันเล่ห์กลของคนพาล
กิเลสสำคัญอีกตัวหนึ่ง คือ “ความโลภ” อชาตศัตรูราชกุมารย่อมมีความโลภเหมือนปุถุชน
ทั้งหลายที่ปรารถนาอำนาจครอบครองมหาสมบัติเมื่อความหลงประสานกับความโลภเข้าเต็มอัตรา
ตามกลลวงที่พระทุศีลเทวทัตวางแผนไว้ อชาตศัตรูราชกุมารจึงมีสภาพไม่ผิดกับผู้ที่กำลังเดินทางอยู่ใน
ความมืดมิด ย่อมหลงไปตามการชักนำของผู้ที่พระองค์ทรงไว้วางพระทัย
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่พระเจ้าอชาตศัตรูทรงก่ออกุศลกรรมหนักถึงขั้นอนันตริยกรรมแล้ว
แม้พระองค์จะได้ครองราชบัลลังก์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดแห่งแคว้นมคธอันยิ่งใหญ่ไพศาล แต่พระองค์ก็
หาได้ทรงมีความสุขสงบอยู่ในอำนาจนั้นไม่ กลับทรงดิ้นรนแสวงหาสัจธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้พระองค์ได้เสด็จ
บ า ที่ 4 ปั ญ ห า ค้ า ง พ ร ะ ท ย ข อ ง พ ร ะ เ จ้ า อ ช า ต ศั ต รู DOU 43