พระอริยบุคคลและคุณสมบัติของพระอรหันต์ SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 63
หน้าที่ 63 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงพระอรหันต์ ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้บรรลุความรู้แจ้ง โดยมีการอธิบายถึงคุณสมบัติ 9 ประการของพระองค์ และ 4 นัยความหมายของคำว่า 'อรหันต์': 1. ไกลจากกิเลส, 2. หักกิเลสด้วยปัญญา, 3. ควรแก่การบูชา, 4. ไม่ทำชั่ว แม้ในที่ลับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิ์และความเป็นเลิศของพระเขาที่ไม่มีใครเปรียบได้ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงความสำคัญของการเข้าใจในธรรมะและการเป็นผู้รู้แจ้งโลก.

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของพระอรหันต์
-ความหมายของคำว่า 'อรหันต์'
-การกำจัดกิเลสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-ความสำคัญของการทำความดีในที่ลับ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5. ทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลก 6. ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า 7. ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย 8. ทรงเป็นผู้เบิกบานแล้ว 9. ทรงเป็นผู้จำแนกธรรม พระพุทธคุณอันประเสริฐยิ่ง ทั้ง 9 ประการนี้ พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายขยายความไว้โดยพิสดาร ซึ่งอาจกล่าวสรุปได้ดังนี้ 5.4.1 ทรงเป็นพระอรหันต์ “อรหันต์” เป็นเนมิตกนาม คือ นามที่เกิดขึ้นตามลักษณะและคุณสมบัติ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับ เมื่อพระพุทธองค์ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ อรหันต์เป็นนามเหตุ พระคุณนามอีก 8 ข้อที่เหลือนั้น เป็นนามผล คำว่า อรหันต์ มีความหมายเป็น 4 นัย คือ นัยที่ 1 ไกลจากข้าศึก “ข้าศึก” หมายถึงกิเลส พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ไกลจากกิเลส ทั้งนี้ เพราะทรงกำจัดกิเลสทั้งปวงด้วยมรรคแล้วโดยสิ้นเชิง จึงทรงพ้นจากกิเลส ทรงบริสุทธิ์ผุดผ่องดุจดวงแก้ว อันหาค่ามิได้ สมดังคำว่า พุทธรัตนะ เพราะเหตุนี้จึงทรงพระนามว่า “พระอรหันต์” นัยที่ 2 ทรงหักกำจักร “กำจักร” หมายถึงกิเลสทั้งปวง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหักกิเลส เหล่านั้นด้วยศาสตรา คือ ปัญญา เพราะเหตุนี้จึงทรงพระนามว่า “พระอรหันต์” นัยที่ 3 ทรงควรแก่ปัจจัย ทั้งนี้เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบริสุทธิ์หมดจดด้วยประการ ทั้งปวง จึงทรงเป็นทักขิไณยบุคคลอันเลิศยิ่ง ย่อมควรแก่ปัจจัยและการบูชาเป็นพิเศษ ยิ่งกว่าพรหม เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเหตุนี้ จึงทรงพระนามว่า “พระอรหันต์” นัยที่ 4 ไม่ทรงทำชั่วในที่ลับ โดยเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำจัดกิเลส ตัณหา และอวิชชา ทั้งปวง ด้วยมรรคและญาณโดยสิ้นเชิงแล้ว พระทัยจึงมั่นคงดังเสาเขื่อน ไม่แปรผันยินดียินร้ายประการใด การทำกรรมชั่วทั้งหลาย แม้ในที่ลับ ย่อมไม่มีแก่พระองค์ผู้คงที่ เพราะเหตุนี้ จึงทรงพระนามว่า “พระ อรหันต์” - พระวิสุทธิมัคคี เผด็จ เล่ม 2 หน้า 556 52 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More