ข้อความต้นฉบับในหน้า
“การไม่ทำบาปทั้งปวง (ศีล)
การยังกุศลให้ถึงพร้อม (สมาธิ)
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว (ปัญญา)
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”
เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่า แม้พระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาจะเป็นอมตะ แต่ก็ยังมีคน
อีกมากที่ไม่เข้าใจ และที่น่าเศร้ายิ่งขึ้นอีกก็คือ ผู้ที่เป็นชาวพุทธแท้ๆ เป็นจำนวนมาก ก็ยังขาดความเข้าใจ
แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ซึ่งเน้นการปฏิบัติด้วยตนเอง กลับหันไปเลื่อมใสศรัทธาในติรัจฉานวิชา เพราะ
ไม่ต้องลงมือปฏิบัติเอง แต่มีผู้ทำตนเป็นที่พึ่งให้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ในที่สุดชาวพุทธบางคนก็เกิดเข้าใจผิด
ไปว่า ติรัจฉานวิชาเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา ซ้ำยังกลายเป็นส่วนที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นของ
ชาวพุทธบางคน ยิ่งกว่าพระสัทธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียอีก
เพราะฉะนั้น เพื่อมิให้ติรัจฉานวิชา หรือลัทธิความเชื่อใหม่ๆ เข้ามาทำให้เกิดความสับสน
ในพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา เราทุกคนควรเร่งศึกษาและปฏิบัติธรรมกันอย่างจริงจัง
เสียแต่บัดนี้
ข้อคิดที่ได้จากการศึกษาสามัญญผลสูตรมิได้มีเพียงเท่านี้ ที่ยกมากล่าวนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่ง
เท่านั้น หากนักศึกษาได้ลงมือศึกษาตัวพระสูตรด้วยตนเองแล้ว ย่อมจะได้มุมมองหรือความคิดเห็น
ปลีกย่อยเพิ่มเติมอีกมากมาย
อย่างไรก็ตาม เนื้อหาสาระสำคัญของสามัญญผลสูตรก็คือหลักการและเป้าหมายอันเป็น
อุดมการณ์สูงสุดของพระพุทธศาสนา
หลักการนั้นประกอบด้วยองค์ 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ส่วนเป้าหมายอันเป็นอุดมการณ์สูงสุดคือ “ความหลุดพ้นจากอาสวกิเลสทั้งปวง”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานอรรถาธิบายหลักการไว้โดยละเอียด ทรงย้ำอยู่ตลอดว่า การ
ปฏิบัติตามหลักการโดยบริสุทธิ์บริบูรณ์นั้น ผู้ปฏิบัติจะได้บรรลุเป้าหมายอย่างแน่นอน
คำสั่งสอนเช่นนี้ ไม่เคยมีปรากฏในคัมภีร์ศาสนา หรือ คำสอนของศาสดาเจ้าลัทธิใดๆ ในโลกเลย
นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณชี้แนะว่า การครองชีวิตเป็นฆราวาสนั้น
มีโอกาสสร้างบุญกุศลได้น้อย (ฆราวาสนั้นคับแคบ) ต้องพัวพันเกี่ยวข้องอยู่กับบาปเสมอ (เป็นทางมาแห่ง
ธุลี) แล้วทรงแนะนำว่า การครองชีวิตเป็นนักบวชนั้น มีโอกาสสร้างบุญกุศลได้มากกว่าฆราวาสมากนัก
ขุ. ธ. 25/24/39-40
บ ท ที่ 9 บ ท ส่ ง ท้ า ย
DOU 165