การเข้าถึงฌานในพุทธศาสนา SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 124
หน้าที่ 124 / 209

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้กล่าวถึงการเข้าถึงฌานสี่ระดับในพุทธศาสนา ประกอบด้วยปฐมฌาน, ทุติยฌาน, ตติยฌาน, และจตุตถฌาน โดยการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุง่ายขึ้นถึงการเข้าใจและรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดจากการมุ่งมั่นในสมาธิเบื้องสูง ซึ่งเป็นผลจากการทำสมาถภาวนา ที่ทำให้สามารถเข้าสู่รูปฌานและอรูปฌานได้อย่างต่อเนื่องและแจ่มชัด

หัวข้อประเด็น

-ฌานทั้ง 4 ระดับ
-การปฏิบัติในพุทธศาสนา
-ความหมายของกายทิพย์
-การเข้าสู่สมาธิเบื้องสูง
-การประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ครั้นแล้วกายทิพย์ละเอียดก็คิดว่า ที่ละเอียดกว่านี้ยังมีอีก ดังนั้นใจของกายทิพย์ละเอียดก็ขยาย จากทุติยฌาน แล้วหยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตซึ่งอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็ มีดวงฌานผุดขึ้นมาอีก มีขนาดเท่า 2 ดวงที่ผ่านมา แต่ใสกว่า ดีกว่า วิเศษกว่า ดวงนี้คือ “ตติยฌาน” มี กายรูปพรหมนั่งอยู่กลางดวงฌาน ด้วยอาศัยกายรูปพรหมนี้ กายรูปพรหมละเอียดก็เข้าฌาน นั่งนิ่งอยู่กลาง ดวงของตติยฌาน ในนี้ไม่มีปีติ มีแต่ “สุข” และ “เอกัคคตา” นิ่งเฉยอยู่กับสุขนั้น มีองค์ 2 เต็มส่วน เมื่อรับ ความสุขของตติยฌานพอสมควรแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็คิดว่าละเอียดกว่านี้ยังมีอีก ครั้นแล้วใจของกายรูปพรหมละเอียดก็ขยายจากตติยฌาน นิ่งอยู่กลางดวงจิตของตน ซึ่งใสอยู่ ภายในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด กลางของกลาง ๆ ๆ ๆ พอถูกส่วนเข้า ผุดขึ้นมาอีก ดวงหนึ่ง เป็นดวงที่สี่ เข้าถึง “จตุตถฌาน” มีกายอรูปพรหมนั่งอยู่กลางดวงฌาน ด้วยอาศัยกายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียดก็เข้าจตุตถฌานไป เมื่อเข้าจตุตถฌานหนักเข้า ละสุขเสียได้ เป็น “อุเบกขา” มี สติบริสุทธิ์ เป็น “เอกัคคตา” ฌานทั้ง 4 ระดับ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานนี้เป็นฌานในภพ ไม่ใช่ฌาน นอกภพ บางทีเรียกว่า “รูปฌาน 4” จัดเป็นสมาธิเบื้องสูง โดยทางปฏิบัติดังกล่าวมาแล้วนี้ สิ่งที่ปรากฏชัด ทำให้รู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น เป็นตัว “ปฏิเวธ การเข้าถึงฌานและกายต่างๆ ล้วนเป็น “ปฏิเวธ” ทั้งสิ้น ปฏิเวธในปฐมฌาน ก็คือ กายมนุษย์ละเอียด ปฏิเวธในทุติยฌาน ก็คือ กายทิพย์และกายทิพย์ละเอียด ปฏิเวธในตติยฌาน ก็คือ กายรูปพรหมและกายรูปพรหมละเอียด ปฏิเวธในจตุตถฌาน ก็คือ กายอรูปพรหมและกายอรูปพรหมละเอียด เมื่อเข้าสู่รูปฌานแน่นอนแล้ว ใจของกายรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ซึ่งนั่งอยู่กลางดวงจตุตถฌานเพื่อที่จะเข้าอรูปฌานต่อไป คือ เข้าอากาสา นัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยใช้ กายอรูปพรหมละเอียดกายเดียวเข้าฌานตลอดทั้งรูปฌานและอรูปฌาน เบื้องกลาง นี้คือสมาธิเบื้องสูง ซึ่งเกิดจากการเจริญสมถภาวนา หรือสมถกัมมัฏฐาน จัดเป็นสามัญญผล บ ท ที่ 7 ส า ม ญ ญ ผ ล เ บื้ อ ง ก ล า ง DOU 113
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More