การปลูกฝังคุณธรรมในพระพุทธศาสนา SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 171
หน้าที่ 171 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นความสำคัญของการปลูกฝังคุณธรรมในพระพุทธศาสนาให้กับเยาวชนในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้า แม้ว่าความรู้ทางวิชาชีพมีความสำคัญแต่ควรมีการควบคู่กับคุณธรรมเพื่อสร้างสังคมที่มีคุณภาพ การศึกษาในปัจจุบันควรจัดให้มีวิชาพระพุทธศาสนาเพื่อลดปัญหาสังคม และพัฒนาคุณธรรมของเยาวชน โดยเสนอแนวทางให้บรรดามารดาบิดาส่งเสริมการอบรมตามวิธีการที่เคยเป็นประเพณีนิยมในอดีต

หัวข้อประเด็น

-คุณธรรมในพระพุทธศาสนา
-การศึกษาและสังคม
-ความสำคัญของวิชาพระพุทธศาสนา
-ปัญหาสังคมและการแก้ไข
-การอบรมเยาวชน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ผู้เรียนเป็นชาวพุทธที่สมบูรณ์แบบ ทำไมเราไม่จัดสอนวิชาพระพุทธศาสนาให้พวกเขา ถ้าจะถามว่า คนที่คิดโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นเก่งไหม ก็ต้องตอบว่า เก่งมาก แต่ถ้าถามอีกว่า คนที่ คิดโปรแกรมลามกอนาจารป้อนคอมพิวเตอร์ ซึ่งกำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากในปัจจุบันนั้นเก่งไหม ก็ต้องตอบว่าเก่งมาก และเลวมากอีกด้วย เพราะการกระทำของเขาส่งผลร้ายต่อคนในสังคมอีกมากมาย ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องแยกให้ออกว่า ความรู้ทางวิชาชีพกับคุณธรรมนั้นเป็นคนละส่วนกัน แต่ต้องมีควบคู่กัน เพราะคุณธรรมจะเป็นตัวควบคุมคนเราให้ประกอบแต่สัมมาชีพ มิใช่ประกอบมิจฉาชีพ เรือขาดหางเสือไม่ได้ฉันใด คนเราก็ขาดคุณธรรมไม่ได้ฉันนั้น เมื่อเราต้องการให้เรือมีหางเสือ เราก็ต้อง นำหางเสือไปติดเข้ากับลำเรือ เมื่อเราต้องการให้เยาวชนของเรามีคุณธรรมในพระพุทธศาสนา ไฉนจึงไม่ปลูกฝังคุณธรรมในพระพุทธศาสนาลงในจิตใจพวกเขา ไฉนจึงไปคิดว่าคุณธรรมในจิตใจคนจะ เป็นผลพลอยได้จากการมีความรู้ด้านวิชาชีพหรือเทคโนโลยี ในสภาพสังคมปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การจัดการศึกษาในสถาบันการ ศึกษาต่างๆ ของชาติ ก็พยายามจะวิ่งไล่ตามให้ทันเทคโนโลยีเหล่านั้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เหตุใด หลักสูตรภาคบังคับของแต่ละภาควิชา จึงไม่มีที่ว่างสำหรับวิชาพระพุทธศาสนาเลย บัดนี้ ผลพวงของการขาดความรู้ความเข้าใจธรรมะในพระพุทธศาสนา ได้แสดงผลปรากฏ ชัดเจนแล้วในสังคมไทยทุกระดับชั้น นับตั้งแต่พฤติกรรมอันไม่ชอบมาพากลของคนระดับผู้บริหาร ประเทศ ไปจนถึงการประกอบอาชญากรรมร้ายแรงของประชาชนทั่วไป รวมทั้งการเข่นฆ่า ล้างผลาญชีวิต กันในหมู่เยาวชนนักศึกษา ตลอดถึงการประกอบการค้าสิ่งเสพติดกันอย่างแพร่หลาย ไม่เว้นแม้ผู้ที่มี อาชีพเป็นครูบาอาจารย์ สิ่งเหล่านี้คือปัญหาที่ทุกๆ ฝ่ายจะต้องร่วมมือกันแก้ไข แต่จะแก้ไขกันอย่างไร และเมื่อไร ทำไมเราไม่ย้อนกลับไปดูอัจฉริยภาพ และภูมิปัญญาของปู่ย่าตายาย แต่ครั้งกระโน้น ซึ่งส่งเสริม ให้ลูกหลานเข้ารับการอบรมคุณธรรมในพระพุทธศาสนา มีการบวชเณรหรือบวชพระ เป็นต้น ทำไม บรรดามารดาบิดาผู้ปกครอง ในปัจจุบันไม่ส่งเสริมให้ลูกหลานบวชเณรหรือบวชพระกันในช่วงปิดเทอม ภาคฤดูร้อน แทนที่จะแข่งขันกันส่งลูกหลานไปเรียนต่างประเทศ หรือเมื่อพ้นภาคฤดูร้อนแล้ว ถ้าผู้บวช ปรารถนาจะอยู่ศึกษาพระธรรมวินัยต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยขอพักการเรียนไว้สัก 1 หรือ 2 ปีก่อน แล้วค่อย ลาสิกขากลับไปเรียนต่อให้จบ หรือ มิฉะนั้นเมื่อจบการศึกษาเรียบร้อยแล้ว ก็ควรจะบวช 1 หรือ 2 ปี แล้ว จึงไปเริ่มประกอบอาชีพก็คงจะไม่ช้าเกินไป ถ้ามารดาบิดาผู้ปกครองตระหนักในคุณค่าของการศึกษาพระพุทธศาสนา แล้วส่งเสริมให้ลูกหลาน ได้มีโอกาสรับการอบรมตามวิธีดังกล่าวแล้ว นอกจากท่านจะได้ลูกแก้วไว้เป็นสมบัติที่น่าภาคภูมิใจ เพราะ คุณธรรมความดีของเขาแล้ว ท่านยังจะมีส่วนทำคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ และ 160 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More