ข้อความต้นฉบับในหน้า
“ดวงคิด” เป็นเนื้อใจชั้นที่สาม ซ้อนอยู่ในดวงจำ แต่ใสกว่าดวงจำ มีขนาดเท่าดวงตาดำของเรา
มีหน้าที่ “คิด” ได้แก่การที่จิตคิดพิจารณาไตร่ตรองเรื่องต่างๆ
“ดวงรู้” เป็นเนื้อใจชั้นในสุด ซ้อนอยู่ข้างในดวงคิด แต่ใสกว่าดวงคิด มีขนาดเท่าแววตาดำ
ของเรามีหน้าที่ “รู้” คือ รู้รูปที่เห็นทางตา รู้เสียงที่ได้ยินทางหู รู้กลิ่นที่ได้สูดทางจมูก รู้รสที่ได้ลิ้มทางลิ้น
รู้สัมผัสที่ได้แตะต้องทางกาย และรู้อารมณ์ที่คิดด้วยจิต
เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เนื้อของดวงใจทั้ง 4 ชั้น ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นดวงใจนี้ อาจเปรียบได้กับ
ผลมะพร้าว กล่าวคือ “ดวงเห็น” ซึ่งเป็นดวงชั้นนอกสุด อาจเปรียบได้กับเปลือกนอกของผลมะพร้าว
“ดวงจำ” ซึ่งซ้อนถัดจาก “ดวงเห็น” เข้าไป อาจเปรียบได้กับเปลือกในของผลมะพร้าว (ส่วนที่เป็นเส้นใย)
“ดวงคิด” ซึ่งซ้อนถัดจาก “ดวงจำ” เข้าไป อาจเปรียบได้กับกะลามะพร้าว ส่วน “ดวงรู้” ซึ่งเป็นดวงใน
ที่สุด เปรียบได้กับเนื้อมะพร้าว
สองนิ้วมือ
ดวงทั้ง 4 นี้ ซ้อนกันอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 กึ่งกลางลำตัว เหนือระดับสะดือขึ้นมา
7.6 ความหมายที่สมบูรณ์ของสมาธิ
จากเนื้อหาข้อ 7.4 ที่กล่าวว่า สมาธิคืออาการที่ใจสงบรวมเป็นหนึ่ง ดังคำจำกัดความข้อ 4) นั้น
ย่อมหมายความว่า ดวงเห็น ดวง ดวงคิด ดวงรู้ ซึ่งซ้อนกันอยู่นั้น หยุดรวมเป็นจุดเดียวกัน ณ ศูนย์กลางกาย
นั่นเอง เมื่อรวมกันเป็นหนึ่งแล้ว นิวรณ์ทั้ง 5 ย่อมแทรกแซงเข้าไปไม่ได้ ดังคำจำกัดความข้อ 1) เมื่อหยุด
เป็นจุดเดียว ใจย่อมตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ดังคำจำกัดความข้อ 2) และไม่ซัดส่าย ดังคำจำกัดความ
ข้อ 3)
ดังนั้น เราจึงอาจจะสรุปความหมายที่สมบูรณ์ของสมาธิได้ใหม่ว่า “สมาธิคือสภาวะที่ใจ
ปลอดจากนิวรณ์ 5 ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว รวมเป็นจุดเดียว ไม่ซัดส่ายเลย สงบนิ่งจนปรากฏเป็น
ดวงใสบริสุทธิ์ผุดขึ้น ณ ศูนย์กลางกาย ซึ่งจะสามารถยังผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่ต่อการบรรลุธรรมขั้นสูง
ต่อไป”
7.7 ฌาน 4
ฌาน คือ ภาวะที่จิตสงบประณีต เป็นสมาธิแน่วแน่ เหนือกว่าสมาธิธรรมดา เมื่อพระภิกษุกระทำ
จิตให้สงบสงัด เป็นสมาธิละเอียดอ่อน ก็จะเข้าฌานระดับต่างๆ ไปตามลำดับๆ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงแก่พระเจ้าอชาตศัตรูว่า
108 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ