สามัญญผลเบื้องต้น SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 59
หน้าที่ 59 / 209

สรุปเนื้อหา

บทที่ 5 นี้เน้นที่สามัญญผลเบื้องต้นระหว่างพระเจ้าอชาตศัตรูกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพระองค์ใช้วิธีถามกลับเพื่อทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูเข้าใจลักษณะของความเชื่อต่อบุญและวาสนา ในการตอบปัญหา พระองค์ใช้วิธีต่าง ๆ เพื่อสื่อสารความเข้าใจเกี่ยวกับผลของบุญและวิธีการตอบปัญหาทั้ง 4 แบบ เช่น เอกังสพยากรณ์ และวิภัชชพยากรณ์ ซึ่งช่วยในการทำให้ผู้ฟังมีความชัดเจนในหลักการคำสอน

หัวข้อประเด็น

-สามัญญผล
-การถามตอบในศาสนา
-การสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-ความเชื่อเรื่องบุญ
-การเป็นบรรพชิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 5 สามัญญผลเบื้องต้น เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูได้กราบทูลเล่าคำตอบของครูทั้ง 6 ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ จึงกราบทูลถามปัญหาเรื่องสามัญญผลต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซ้ำอีกคำรบหนึ่ง 5.1 สามัญญผลประการแรก ในครั้งแรกนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงใช้พุทธวิธีอันแยบยลชี้ให้ทุกคนที่อยู่ในที่ประชุมนั้น เห็นว่า ความเห็นของครูทั้ง 6 ล้วนเป็นมิจฉาทิฏฐิ โดยที่พระองค์ไม่ต้องทรงตำหนิผู้ใดเลย ครั้นมาบัดนี้ ถึงเวลาที่จะทรงตอบปัญหา พระพุทธองค์ทรงเลือกใช้วิธีการทำนองเดียวกับครั้งแรก คือ ทรงใช้วิธีถามกลับ ซึ่งมีศัพท์เฉพาะว่า ปฏิปุจฉาพยากรณ์ เพื่อให้พระเจ้าอชาตศัตรูสามารถตระหนักในสามัญญผลเบื้องต้นด้วยพระองค์เอง โดยตรัสถาม พระเจ้าอชาตศัตรูว่า “มหาบพิตร ในข้อนี้ตถาคตจะขอย้อนถามมหาบพิตรก่อน โปรดตรัสตอบตามที่พอพระทัยเถิด สมมุติว่า บุรุษผู้เป็นข้าทาสบริวารคนหนึ่งของมหาบพิตร เป็นผู้มีความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อมหาบพิตร เสมอมา ทั้งปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ ไม่มีข้อบกพร่อง แต่บุรุษผู้นี้มีความเชื่อมั่นในเรื่อง ผลของบุญ เชื่อมั่นว่า ถ้าตนตั้งหน้าตั้งตาทำบุญ ต่อไปในภายหน้าก็ย่อมจะได้เสวยผลบุญ เป็นผู้มีอำนาจ วาสนา พรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณ และข้าทาสบริวารมากมายเช่นเดียวกับมหาบพิตร คิดได้ดังนี้ จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ สันโดษด้วยความมีเพียงอาหารและผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด เมื่อมหาบพิตรได้ทรง ทราบเรื่องบุรุษผู้นี้ จะทรงมีบัญชาให้เขากลับมาเป็นข้าทาสของพระองค์อีกหรือไม่อย่างใด” การตอบปัญหาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี 4 แบบ คือ 1. เอกังสพยากรณ์ คือ การตอบปัญหาแง่เดียว ตอบโดยตรง เช่น ถามว่า ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงหรือ ตอบว่า ไม่เที่ยง เป็นต้น 2. วิภัชชพยากรณ์ คือ การตอบปัญหาโดยการจำแนกแก้ แจกแจง แยกแยะรายละเอียดให้ผู้ฟังเข้าใจชัด 3. ปฏิปุจฉาพยากรณ์ คือ การตอบปัญหาโดยการย้อนถาม 4. ฐปนียพยากรณ์ คือ การงด ตอบ เพราะเป็นปัญหาที่ไม่ควรตอบ 2 3 เบญจกามคุณ ได้แก่ สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ 5 อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) สามัญญผลสูตร ที. ส. 9/100/38 48 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More