การอภิปรายเกี่ยวกับศิลปศาสตร์ SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 182
หน้าที่ 182 / 209

สรุปเนื้อหา

ในบทสนทนานี้มีการพูดถึงศิลปศาสตร์หลากหลายแขนง ซึ่งรวมถึงช่างต่างๆ และนักการบัญชี ที่ทำให้ผู้คนสามารถเลี้ยงชีพได้อย่างมีความสุข โดยใช้ผลแห่งศิลปศาสตร์ในการดูแลครอบครัวและสังคม การสนทนายังพูดถึงการบำรุงคนในสังคมหรือในชุมชนที่ช่วยให้เกิดสันติสุขและเจริญรุ่งเรือง รวมถึงการตั้งคำถามถึงศักยภาพของพระองค์ในการบัญญัติผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบันในลักษณะเดียวกัน

หัวข้อประเด็น

-ศิลปศาสตร์ในสังคม
-บทบาทของช่างและนักการบัญชี
-การบำรุงครอบครัวและสังคม
-ผลกระทบของศิลปศาสตร์ต่อชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พลสวมเกราะหนัง พวกบุตรทาส ช่างทำขนม ช่างกัลบก พนักงานเครื่องสรง พวกพ่อครัว ช่างดอกไม้ ช่างย้อม ช่างหูก ช่างจักสาน ช่างหม้อ นักคำนวณ พวกนับคะแนน (นักการบัญชี) หรือศิลปศาสตร์ เป็นอันมาก แม้อย่างอื่นใดที่มีคติเหมือนอย่างนี้ คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่ง ศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตร ภริยา มิตร อำมาตย์ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญ ทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจบัญญัติสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือน อย่างนั้นได้บ้างหรือไม่ พ. มหาบพิตร ทรงจำได้หรือไม่ว่า ปัญหาข้อนี้ มหาบพิตรได้ตรัสถามสมณพราหมณ์พวกอื่นแล้ว อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จำได้อยู่ ปัญหาข้อนี้ หม่อมฉันได้ถามสมณพราหมณ์พวกอื่นแล้ว พ. ดูกรมหาบพิตร สมณพราหมณ์เหล่านั้นพยากรณ์อย่างไร ถ้ามหาบพิตรไม่หนักพระทัยก็ตรัสเถิด อ. ณ ที่ที่พระผู้มีพระภาคหรือท่านผู้เปรียบดังพระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ หม่อมฉันไม่หนักใจ พระเจ้าข้า พ. ถ้าอย่างนั้น มหาบพิตรตรัสเถิด วาทะของศาสดาปูรณกัสสป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อมฉันเข้าไปหาครูปูรณกัสสป ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับปูรณกัสสป ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว หม่อมฉันได้กล่าวคำนี้กะปูรณกัสสปว่า ท่านกัสสป ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า พลรบ พลธนู พนักงานเชิญธง พนักงานจัดกระบวนทัพ พนักงานจัดส่งเสบียง พวกอุคคราชบุตร พลอาสา ขุนพล พลกล้า พลสวมเกราะ หนัง พวกบุตรทาส ช่างทำขนม ช่างกัลบก พนักงานเครื่องสรง พวกพ่อครัว ช่างดอกไม้ ช่างย้อม ช่างหูก ช่างจักสาน ช่างหม้อ นักคำนวณ พวกนับคะแนน (นักการบัญชี) หรือศิลปศาสตร์เป็นอันมาก แม้อย่าง อื่นใด ที่มีคติเหมือนอย่างนี้ คนเหล่านั้น ย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตร ภริยา มิตร อำมาตย์ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณ พราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านอาจบัญญัติสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนอย่างนั้นได้หรือไม่ เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูปูรณกัสสป ได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า ภาค ผนวก DOU 171
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More