การบริโภคคิลานเภสัชและศีลในพระภิกษุ SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 94
หน้าที่ 94 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของการบริโภคคิลานเภสัชในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องของการเลือกยาที่เหมาะสมและผลกระทบของการใช้ยาเพิ่มพลังและยาอายุวัฒนะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดทุกขเวทนา ในขณะเดียวกันยังมีการเน้นความสำคัญของการมีศีลในชีวิตของพระภิกษุ โดยยกตัวอย่างของจุลศีล ซึ่งรวมถึงการละเว้นจากการฆ่าสัตว์ การขโมย การพูดเท็จ และการแสวงหาสิ่งที่ไม่สมควร เพื่อสร้างเสริมคุณธรรมและความดีในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-การบริโภคคิลานเภสัช
-ผลกระทบของยา
-ความสำคัญของศีล
-จุลศีลและการปฏิบัติ
-การเลือกใช้ยาที่เหมาะสม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อนึ่ง ในเรื่องของการบริโภคคิลานเภสัชนี้ มีสิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสภาพ สังคมปัจจุบัน ซึ่งมีการใช้ยาที่เป็นโทษแก่ร่างกายกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาประเภทที่เรียก กันว่า “ยาเพิ่มพลังหรือยาขยัน” และ “ยาอายุวัฒนะ” นั้น ที่แท้คือยาที่ก่อให้เกิดทุกขเวทนา มิใช่ระงับ ทุกขเวทนา ฉะนั้น ก่อนจะบริโภค จึงต้องพิจารณาให้ดีว่า สิ่งนั้นเป็นคิลานเภสัชที่เหมาะกับตนหรือไม่ ปัจจัยสันนิสสิตศีลนี้ จึงมุ่งเน้นให้พระภิกษุบริโภคใช้สอยปัจจัยสี่อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยการ ให้พระภิกษุพิจารณาโดยแยบคายถึงวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องของการบริโภคเสียก่อน แล้วจึงค่อยบริโภค ใช้สอยปัจจัยนั้นๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ปัจจัยสันนิสสิตศีลนี้ พระภิกษุจะสามารถบำเพ็ญให้สำเร็จบริบูรณ์ได้ ก็ ด้วยปัญญา 6.2.3 ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยศีล หมายถึง เป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ ซึ่งในสามัญญผลสูตรนี้ หมายถึงความเป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยศีล 3 อย่าง คือ จุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล 1) จุลศีล “จุลศีล” เป็นบทฝึกทางกายและวาจา ให้ภิกษุละการทำชั่ว พูดชั่ว ให้ประกอบกายกรรมและ วจีกรรมที่เป็นกุศล เว้นขาดจากการแสวงหาและการรับในสิ่งที่ไม่สมควรต่อความเป็นสมณะ มีทั้งหมด 26 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง 2. ละเว้นจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดอยู่เสมอ 3. ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นขาดจากเมถุนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องของชาวบ้าน และไม่ทำสิ่งที่เป็น ข้าศึกแก่พรหมจรรย์ 4. ละเว้นจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง รักษาคำสัตย์ พูดจาเป็นหลักเป็นฐาน เชื่อถือได้ ไม่พูด ลวงโลก 5. ไม่พูดส่อเสียดให้หมู่คณะแตกร้าวกัน แต่สมานคนที่แตกร้าวกัน ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนสามัคคีกัน 6. ไม่พูดคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไพเราะ ไม่มีโทษ เป็นที่รักและพอใจของผู้ได้ยิน 7. ไม่พูดเพ้อเจ้อ พูดถูกกาลเทศะ พูดจริง เป็นอรรถเป็นธรรม เป็นวินัย มีหลัก มีที่อ้าง มีที่สุด เป็นคำพูดประกอบด้วยประโยชน์ บ ท ท 6 คุณ ธ ร ร ม ที่ ทำ ใ ห้ เ ป็ น ผู้ บ ริ สุท ธิ์ DOU 83
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More