สันโดษในพระพุทธศาสนา SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 108
หน้าที่ 108 / 209

สรุปเนื้อหา

สันโดษในพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ยถาลาภสันโดษ (ยินดีตามที่ได้), ยถาพลสันโดษ (ยินดีตามกำลัง) และยถาสารุปปสันโดษ (ยินดีตามสมควร) ซึ่งในชีวิตประจำวัน ภิกษุจะใช้แนวทางนี้ในการรับจีวร บิณฑบาต และเสนาสนะ โดยจะพอใจกับสิ่งที่ได้รับตามความเหมาะสมและสภาพของตน ไม่เพ่งเล็งสิ่งที่เป็นของคนอื่น รวมถึงมีการแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้แก่ผู้สมควร นอกจากนี้ สันโดษยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและพอเพียง เช่น การรับจีวรที่จะใช้ในชีวิตและการแบ่งปันบิณฑบาตที่ได้รับกับผู้ที่มีความจำเป็น

หัวข้อประเด็น

-ยถาลาภสันโดษ
-ยถาพลสันโดษ
-ยถาสารุปปสันโดษ
-การพอใจในสิ่งที่มี
-การแบ่งปันในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1) ยถาลาภสันโดษ คือ ยินดีตามที่ได้ หมายความว่า เมื่อได้สิ่งใดมาด้วยความเพียรของตน ก็ พอใจในสิ่งนั้น ไม่เดือดร้อนเพราะอยากได้ของที่ไม่ได้ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของคนอื่น ไม่ริษยาคนอื่น 2) ยถาพลสันโดษ คือ ยินดีตามกำลัง หมายความว่า พอใจเพียงแค่พอแก่กำลังร่างกาย สุขภาพ และขอบเขตการใช้สอยของตน ของที่เกินกำลังก็ไม่หวงแหนเสียดาย ไม่เก็บไว้ให้เสียเปล่า หรือไม่ฝืนใช้ ให้เป็นโทษแก่ตน 3) ยถาสารุปปสันโดษ คือ ยินดีตามสมควร หมายความว่า พอใจตามที่สมควรแก่ภาวะ ฐานะ แนวทางชีวิตและจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน เช่น ภิกษุพอใจแต่ของอันเหมาะสมกับสมณสารูป หรือหากได้ของใช้ที่ไม่เหมาะกับตน แต่จะมีประโยชน์แก่ผู้อื่นก็นำไปมอบให้แก่เขา เป็นต้น สันโดษ 3 นี้เป็นไปในปัจจัย 4 แต่ละอย่างๆ จึงรวมเรียกว่าสันโดษ 12 ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ยถาลาภสันโดษในจีวร คือ ยินดีตามที่ได้ในจีวร ภิกษุในพระพุทธศาสนานั้น เมื่อได้รับ จีวรซึ่งญาติโยมถวายมา จีวรนั้นจะดีหรือไม่ดีก็ตาม ภิกษุย่อมใช้สอยจีวรนั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาจีวรอื่นอีก ถึงแม้จะมีผู้ถวายในภายหลังก็ไม่รับ 2) ยถาพลสันโดษในจีวร คือ ความยินดีตามกำลังในจีวรหรือเครื่องนุ่งห่มของตน เช่น หาก ภิกษุเป็นผู้มีกำลังน้อย อาพาธ หรือชราภาพ ควรที่จะนุ่งห่มจีวรเบา ก็ยินดีใช้สอยจีวรเช่นนั้น แม้จะได้รับ จีวรอย่างหนา คุณภาพดี ก็ไม่หวงแหนเอาไว้ แต่นำไปถวายภิกษุอื่น 3) ยถาสารุปปสันโดษในจีวร คือ ความยินดีตามสมควรในจีวรนั้น เช่น การที่ภิกษุได้รับจีวร ที่มีคุณภาพดีและราคาแพง หรือได้รับบาตรคุณภาพดีและราคาแพง ภิกษุรูปนั้นจึงมีความคิดว่าจีวรและบาตร นี้ย่อมสมควรแก่พระเถระผู้บวชนาน หรือผู้เป็นพหูสูต หรือผู้อาพาธ หรือผู้มีลาภน้อย จึงนำไปถวายแก่ผู้ สมควร ไม่เก็บไว้ใช้เอง หรือเปลี่ยนเอาจีวรเก่าของพระเถระมาใช้สอยแทน 4) ยถาลาภสันโดษในบิณฑบาต คือ ความยินดีตามได้ในบิณฑบาต เช่น เมื่อภิกษุออกบิณฑบาต ไม่ว่าจะได้รับอาหารดีเลวอย่างใดมาก็ตาม ย่อมยินดีบริโภคอย่างนั้น ไม่ต้องการอย่างอื่นอีก ถึงจะได้ก็ไม่รับ 5) ยถาพลสันโดษในบิณฑบาต คือ ความยินดีตามกำลังในบิณฑบาต เช่น เมื่อภิกษุได้รับ บิณฑบาตที่เหมาะกับสุขภาพร่างกายของตน ก็ยินดีในบิณฑบาตนั้น ไม่เที่ยวเพ่งเล็งหรือแสวงหาบิณฑบาต อื่นอีก หรือแม้ได้รับถวายบิณฑบาตที่ดี แต่ไม่เหมาะกับสุขภาพของตน ก็ไม่หวงแหนไว้ แต่นำไปถวายภิกษุอื่น 6) ยถาสารุปปสันโดษในบิณฑบาต คือ ความยินดีตามสมควรในบิณฑบาต ภิกษุบางรูปมีบุญ มาก ได้รับบิณฑบาตอันประณีตจำนวนมาก ก็แบ่งถวายแก่พระเถระผู้บวชนาน ผู้เป็นพหูสูต ผู้มีลาภน้อย หรือผู้อาพาธ ตนเองบริโภคส่วนที่เหลือ 7) ยถาลาภสันโดษในเสนาสนะ คือ ความยินดีตามที่ได้ในเสนาสนะ ภิกษุในพระพุทธศาสนา บ ท ท 6 คุ ณ ธ ณ ธ ร ร ม ที่ ทำ ใ ห้ เ ป็ น ผู้ บ ริ สุท ธิ์ DOU 97
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More