ญาณทัสสนะและวิปัสสนาญาณในพุทธศาสนา SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 130
หน้าที่ 130 / 209

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายถึงความสำคัญของมหาภูต 4 ที่ประกอบขึ้นเป็นกายมนุษย์ และความเชื่อมโยงระหว่างรูปและวิญญาณตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส การเจริญภาวนาและการเข้าถึงญาณทัสสนะหรือวิปัสสนาญาณ เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกถึงความเกิดและความดับของร่างกาย ส่งผลให้เกิดความเบื่อหน่ายต่อกายและมีแนวทางที่จะละทิ้งร่างกายไป สุดท้ายคือการเข้าถึงธรรมกายระดับต่างๆ หลักการนี้สะท้อนถึงการตัดสังโยชน์และการเข้าถึงอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาเพื่อการหลุดพ้น

หัวข้อประเด็น

-มหาภูต 4
-วิญญาณและกายมนุษย์
-ญาณทัสสนะ
-วิปัสสนาญาณ
-การเจริญภาวนา
-ธรรมกาย
-อริยสัจ 4

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ซึ่งประกอบด้วยมหาภูต 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ ส่วนวิญญาณนั้น หมายถึงใจนั่นเอง กายมนุษย์ที่เกิดแต่มารดาบิดานี้ ย่อมเจริญเติบโตขึ้นได้ด้วยอาหาร เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ มีการ เจ็บไข้ได้ป่วยและแก่ชรา แม้จะระวังรักษาสุขภาพให้ดีเพียงใด ในที่สุดก็จะต้องจบชีวิตลงจนได้ ซึ่งทำให้ รูปและวิญญาณแยกออกจากกันไปคนละทาง เหล่านี้เป็นธรรมดาโลก ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับ พระเจ้าอชาตศัตรูว่า “ภิกษุ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ญาณทัสสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูปประกอบด้วย มหาภูต 4 เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟัน มีอันแตกทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และ วิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้... มหาบพิตร นี้แหละ สามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญญผลที่เห็น ประจักษ์ข้อก่อนๆ” จากพุทธดำรัสนี้ จะเห็นว่าสามัญญผลที่ผู้เจริญภาวนาจะพึงบรรลุต่อจากฌาน 4 ก็คือ “ญาณ ทัสสนะ” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วิปัสสนาญาณ” เป็นญาณตามเห็นความเกิดและความดับของ ร่างกายตนเอง ทำให้มองเห็นว่าร่างกายเรานี้น่ากลัว มีแต่โทษ แล้วเกิดความเบื่อหน่าย ปรารถนาจะละทิ้ง กายตนเองเสีย ขณะเดียวกันก็คิดพิจารณาหาทางที่จะละทิ้งกายตน ครั้นแล้วก็เกิดความวางเฉยไม่ยินดี ยินร้ายต่อร่างกายตน ญาณในระดับนี้ย่อมนำไปสู่การหยั่งรู้อริยสัจ 4 (ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีดับทุกข์) “ญาณทัสสนะ” หรือ “วิปัสสนาญาณ” นี้ เป็นญาณที่จะพยุงจิตของผู้บรรลุธรรมกายเบื้องต้น หรือธรรมกายโคตรภู ขึ้นไปสู่ธรรมกายพระโสดา เป็นอริยบุคคลระดับต้นคือ พระโสดาบัน ดังนั้นจึง กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ที่บรรลุ “ญาณทัสสนะ” หรือ “วิปัสสนาญาณ” ก็คือผู้บรรลุธรรมกายโคตรภู นั่นเอง สามัญญผลสูตร ที. สี. 9/131/101 2 ธรรมกาย มีหลายระดับ ธรรมกายเบื้องต้นเรียกว่า ธรรมกายโคตรภู เป็นรอยต่อระหว่างโลกิยภูมิและโลกุตตรภูมิ ผู้เข้าถึงธรรมกายโคตรภูแล้ว หากประมาทพลาดพลั้ง ไม่หมั่นฝึกฝนอบรมจิตต่อไป จิตก็จะหยาบ กลับมาสู่ความเป็นปุถุชนดั้งเดิมได้ แต่ถ้าไม่ประมาทหมั่นฝึกฝนอบรมจิตจนมีความละเอียดบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นสามารถตัดสังโยชน์ไปตามลำดับก็จะเข้าถึงธรรมกายอริยบุคคล ตั้งแต่ ธรรมกายโสดา ธรรมกายสกทาคามี ธรรมกายอนาคามี และธรรมกายอรหัต เป็นพระอรหันต์ หมดกิเลสได้ในที่สุด บ ท ที่ 8 ส า ม ญ ญ ผ ล เ บื อ ง สูง DOU 119
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More