พฤติกรรมของพระภิกษุในเรื่องการขอรับลาภสักการะ SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 90
หน้าที่ 90 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจพฤติกรรมสัมพันธภาพของพระภิกษุที่ใช้วิธีการพูดเพื่อโน้มน้าวใจทายกให้ถวายทาน รวมถึงการพูดเอาอกเอาใจ พูดประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงถึงการถวายทาน และแบ่งปันกลยุทธ์การพูดที่จะนำไปสู่การได้รับลาภสักการะ จนถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพูดท้าทายหรือพูดให้เจ็บใจระหว่างการขอบาง ทุกรูปแบบนี้มีเจตนาเดียวกันคือเพื่อให้ได้มาซึ่งลาภสักการะจากผู้มีศรัทธา แม้ว่าการกระทำดังกล่าวอาจแฝงไว้ด้วยอารมณ์และโมหะก็ตามที่ไม่ควรละเลยในแง่ของศีลธรรม.

หัวข้อประเด็น

-พูดเอาอกเอาใจ
-การทำทาน
-พฤติกรรมของพระภิกษุ
-การขอรับลาภสักการะ
-พูดประชาสัมพันธ์ชื่อเสียง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระภิกษุบางรูปก็พยายามพูดเอาอกเอาใจยกยอคฤหบดีต่างๆ นานา ด้วยเกรงว่าคฤหบดีที่ น้อมนำลาภสักการะมาสู่ตนนั้นจะเหินห่างไปเสีย พระภิกษุบางรูปก็พยายามพูดเกี้ยวทานบดี ให้ถวายทาน ใหม่อีก โดยการพูดสรรเสริญการถวายทานของเขาในครั้งก่อน (ทั้งนี้ไม่รวมถึงการกล่าวยกใจ เพื่อให้ ทายกทายิกาได้ระลึกถึงบุญ และมีใจปีติเบิกบานในบุญกุศล) พระภิกษุบางรูป เมื่อเห็นอุบาสกถืออ้อย (หรือของขบฉันอื่นๆ) มาก็แสร้งพูดว่า อ้อยนั้นคงจะอร่อย กระมัง ครั้นเมื่ออุบาสกตอบว่า ต้องลองฉันดูจึงจะรู้ พระภิกษุจึงพูดใหม่ว่า ถ้าตนจะบอกให้อุบาสกถวายอ้อยให้ ก็จะไม่เหมาะไม่ใช่หรือ ครั้นแล้วอุบาสกก็อาจจะถวายอ้อยให้ เพราะเข้าใจว่าพระภิกษุรูปนั้นอยากฉันอ้อย การพูดเช่นนี้ของพระภิกษุจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ล้วนจัดเป็นเรื่องของการพูดพิรี้พิไรทั้งสิ้น จะเห็นว่าพฤติกรรมของพระภิกษุที่จัดเป็น “ลปนา” คือ พูดพิรี้พิไรนั้น มีตั้งแต่การพูดจาตีสนิทหรือ ดักคอทานบดี การพูดประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของตนกับทานบดี การพูดเอาอกเอาใจ พูดเกี้ยว พูดยกตน หรือพูดถ่อมตนกับทานบดี จนถึงประพฤติถ่อมตนเข้าไปรับใช้ทานบดี เจตนาของพระภิกษุเหล่านี้มีอยู่ เหมือนๆ กัน คือ เพื่อให้ได้มาซึ่งลาภสักการะ 3. เนมิตติกตา หมายถึง พูดหว่านล้อม ได้แก่การกระทำหรือการพูดอ้อมค้อม เพื่อล่อใจให้ทายก ถวายของ เพราะจะขอกันตรงๆ ก็รู้สึกเก้อเขิน และเป็นอาบัติ พระภิกษุจึงแสดงนิมิต คือ พฤติกรรมให้ทายกรู้ ด้วยการพูดเป็นนัยว่าตนต้องการอะไร หรืออยากฉันอะไร แม้ทายกจะรู้เท่าทัน แกล้งปฏิเสธหรือหลบหน้า ไปเสีย พระภิกษุก็ยังไม่สิ้นความพยายาม ในที่สุดท้ายกอดรนทนไม่ได้ ก็จำใจถวายสิ่งของนั้นๆ ให้ 4. นิปเปสิกตา หมายถึง พูดท้าทายถากถางให้เจ็บใจ หรือพูดเป็นเชิงบีบบังคับ เป็นคำพูดที่ฉลาด ของพระภิกษุ เพื่อปรามาสหรือหมิ่นน้ำใจทายก โดยมีเจตนาให้ทายกถวายลาภสักการะแก่ตน เช่น กล่าวว่าสกุลนี้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใสในการทำทาน ทายกทนฟังไม่ได้ก็ถวายสิ่งของให้โดยไม่เต็มใจ หรือเมื่อไปบ้านหนึ่งก็พูดจาไพเราะกับเขา ครั้นไปอีกบ้านหนึ่งก็เอาไปนินทาให้คนในบ้านใหม่ฟัง พร้อมทั้ง พูดจายกย่องผู้ที่กำลังฟังอยู่ด้วย แม้ผู้ฟังจะรู้สึกไม่พอใจ ก็จำต้องถวายลาภสักการะให้ เพราะไม่อยาก ถูกนินทาหรือเพราะรำคาญก็เป็นได้ นิปเปลิกตานี้ พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า หมายถึง การด่าด้วยวัตถุสำหรับด่า 10 อย่าง คือ พูดข่ม พูดใส่ร้าย พูดขับเขา พูดไล่เขา พูดหยันเขา พูดเย้ยเขา พูดเหยียดเขา พูดหยามเขา พูดโพนทะนา และต่อหน้าพูดหวาน ลับหลังตั้งนินทา 5. นิชิลีสนตา หมายถึง การแสวงหากำไร เป็นการต่อลาภด้วยลาภของพระภิกษุบางรูป เช่น พระ ภิกษุได้รับสิ่งของจากทายกผู้หนึ่งตนรู้สึกว่ายังไม่พอใจนักจึงนำสิ่งของนั้นไปให้ผู้อื่นโดยหวังว่าตนจะได้รับของ สิ่งใหม่ซึ่งดีกว่าของเดิมเป็นการทดแทน ครั้นเมื่อได้ของสิ่งใหม่มา ก็นำไปให้ผู้อื่นอีกเพื่อแลกกับของสิ่งใหม่ ที่ดีกว่าหรือแพงกว่า ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะได้ของที่ตนพอใจที่สุด บ ท ท 6 คุณ ธ ร ร ม ที่ ทำ ใ ห้ เ ป็ น ผู้ บ ริ สุท ธิ์ DOU 79
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More