ข้อความต้นฉบับในหน้า
ยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด สภาวะ 7 กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกัน
ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุข ทั้งทุกข์แก่กันและกัน ผู้ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดี ผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้
ได้ยินก็ดี ผู้เข้าใจความก็ดี ผู้ทำให้เข้าใจความก็ดี ไม่มีในสภาวะ 7 กองนั้น เพราะว่าบุคคลจะเอาศาสตรา
อย่างคมตัดศีรษะกัน ไม่ชื่อว่าใครๆ ปลงชีวิตใครๆ เป็นแต่ศาสตราสอดไปตามช่องแห่งสภาวะ 7 กองเท่านั้น
ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูปกุทธกัจจายนะ
กลับเอาเรื่องอื่นมาพยากรณ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครู
ปกุทธกัจจายนะกลับเอาเรื่องอื่นมาพยากรณ์ เปรียบเหมือนเขาถามถึงมะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ หรือเขา
ถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง ฉะนั้น
หม่อมฉันมีความดำริว่าไฉน คนอย่างเราจะพึงมุ่งรุกรานสมณะหรือพราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต
ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของครูปกุทธกัจจายนะ ไม่พอใจ แต่ก็มิได้เปล่งวาจา แสดงความไม่พอใจ
ไม่เชื่อถือ ไม่ใส่ใจถึงวาจานั้น ลุกจากที่นั่งหลีกไป
วาทะของศาสดานิครนถนาฏบุตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อมฉันเข้าไปหาครูนิครนถนาฏบุตร ถึงที่อยู่
ได้กล่าวว่า ท่านอัคคิเวสนะ ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง ... คนเหล่านั้น ย่อมอาศัยผล
แห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา
บุตร ภริยา มิตร อำมาตย์ ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านอาจบัญญัติสามัญญผลที่เห็น
ประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนอย่างนั้นได้หรือไม่
เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูนิครนถนาฏบุตร ได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า
ดูกรมหาบพิตร นิครนถ์ในโลกนี้ เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร 4 ประการ นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้ว
ด้วยสังวร 4 ประการ เป็นไฉน ดูกรมหาบพิตร นิครนถ์ในโลกนี้เป็นผู้ห้ามน้ำทั้งปวง 1 เป็นผู้ประกอบด้วย
น้ำทั้งปวง 1 เป็นผู้กำจัดด้วยน้ำทั้งปวง 1 เป็นผู้ประพรมด้วยน้ำทั้งปวง 1 นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร
4 ประการ อย่างนี้แล มหาบพิตร เพราะเหตุที่นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร 4 ประการอย่างนี้ บัณฑิต
จึงเรียกว่า เป็นผู้มีตนถึงที่สุดแล้ว มีตนสำรวมแล้ว มีตนตั้งมั่นแล้ว ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูนิครนถนาฏบุตร กลับ
ตอบถึงสังวร 4 ประการ ฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์
ครูนิครนถนาฏบุตร กลับตอบถึงสังวร 4 ประการ เปรียบเหมือนเขาถามถึงมะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ หรือ
ภ า ค ผ น ว ก
DOU 175