ข้อความต้นฉบับในหน้า
7.8 ประเภทของสมาธิ
การบรรลุฌานทั้ง 4 ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเจ้าอชาตศัตรูนั้น ล้วนเป็น
สามัญญผลอันเกิดจากการเจริญสมาธิภาวนาของพระภิกษุเอง
สมาธิในพระพุทธศาสนาอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือ
1. สมาธิเบื้องต่ำ
“สมาธิเบื้องต่ำ” คือ สภาวะที่ใจสงบ ปราศจากอารมณ์ทั้ง 6 หรืออายตนะภายนอก 6 อันได้แก่
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ นิวรณ์ 5 จึงเริ่มสงบระงับ ใจจึงรวมเป็นหนึ่ง เกิดเป็นดวงสว่าง
ดังที่ปรากฏในพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ยกขึ้นมากล่าวไว้ตอนต้นบทที่ 7 นี้ว่า “มีความ
กำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง” วิธีทำใจให้เป็นหนึ่งในขั้นตอนนี้ยังจัดเป็น “สมาธิเบื้องต่ำ” เป็นสมาธิที่ยัง
ไม่ได้ดิ่งถึงที่สุด
2. สมาธิเบื้องสูง
“สมาธิเบื้องสูง” คือสภาวะที่ใจสงบเป็นสมาธิดิ่งถึงที่สุด เป็นสมาธิของผู้ปฏิบัติซึ่งบรรลุฌานทั้ง 4
ตามลำดับดังกล่าวแล้ว
7.9 สมาธิในทางปฏิบัติ
เพื่อให้เข้าใจการทำสมาธิทั้ง 2 ระดับดังกล่าวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงขอน้อมนำคำอธิบายในเชิง
ปฏิบัติของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มาขยายความไว้ในที่นี้
“สมาธิเบื้องต่ำในทางปฏิบัติ” หมายถึง การสละอารมณ์ไม่ให้ติดกับจิต ตัวอย่างเช่น เวลานอน
หากมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน 6 อย่าง (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์) ติดอยู่กับจิตจนเปลื้อง
ไม่ออก หรือที่เรียกว่า “สละอารมณ์ไม่ได้” เราก็จะนอนไม่หลับทั้งคืน เพราะถูกอารมณ์บังคับไว้ ต้องสละ
อารมณ์ออกจากใจให้ได้ จึงจะนอนหลับได้
การทำสมาธิก็เช่นเดียวกัน หากจิตติดอยู่กับอารมณ์ ใจย่อมนึกคิดซัดส่ายไปตามอารมณ์นั้นๆ
หากเมื่อใดที่สละอารมณ์ได้ จิตหลุดจากอารมณ์โดยเด็ดขาดไม่เกี่ยวข้องกัน เหมือนไข่ขาวกับไข่แดงที่แม้
จะอยู่รวมกันในไข่ฟองเดียว แต่ก็แยกจากกัน ไม่ปะปนกัน เพราะมีเยื่อบางๆ หุ้มไข่แดงไว้ เมื่อสละอารมณ์
ได้เช่นนั้น ใจจึงจะหยุดนิ่งแน่วแน่ และมองเห็นดวงธรรมที่อยู่ภายใน
1 ดวงสว่างในขั้นตอนนี้ คือ อุคคหนิมิต หรือปฏิภาคนิมิต
บ
ท ที่ 7 ส า ม ญ ญ ผ ล เ บื้ อ ง ก ล า ง
DOU 111