ความสำคัญของสติสัมปชัญญะในพระพุทธศาสนา SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 106
หน้าที่ 106 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นความสำคัญของสติสัมปชัญญะและสันโดษในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพระภิกษุที่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ฆราวาส สติสัมปชัญญะถือเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่ช่วยให้พระภิกษุไม่หลงผิดและสามารถสร้างเกียรติคุณให้กับสังคมได้ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความเสียหายที่อาจเกิดจากการขาดสติซึ่งส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินของทั้งตัวเองและผู้อื่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายืนยันว่าภิกษุจำเป็นต้องมีสติสัมปชัญญะในการดำเนินชีวิต และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของสติสัมปชัญญะ
-การสันโดษในชีวิต
-ผลกระทบจากการไม่มีสติ
-บทบาทของพระภิกษุในสังคม
-การดำเนินชีวิตตามหลักธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

งมงายหรือไม่ 4. อสัมโมหสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัวว่า สิ่งที่ตนกำลังทำนั้นเป็นความหลงเข้าใจผิด หรือ การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ” ย่อมหมาย ความว่า ทุกอิริยาบถที่พระภิกษุกระทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง การยืน การเดิน การนอน การพูด การนิ่ง ไม่พูด หรือการกระทำใดๆ นอกเหนือจากที่กล่าวนี้ พระภิกษุจะกระทำด้วยความรู้สึกตัวเสมอ ไม่มีการลืม หรือเผลอสติ สติสัมปชัญญะนี้เป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับทุกๆ คน ผู้ที่ย่อหย่อนในธรรม 2 ประการนี้ นอกจาก ตนเองจะประสบความล้มเหลว ขาดความยกย่องนับถือจากผู้อื่นแล้ว ยังทำลายชื่อเสียงเกียรติคุณของ สังคมส่วนรวมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นพระภิกษุด้วยแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ต่อสถาบันศาสนาทีเดียว ทั้งนี้เพราะพระภิกษุเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของฆราวาสโดยทั่วไป พระภิกษุที่ย่อหย่อนในธรรมทั้ง 2 ประการ คือ สติและสัมปชัญญะย่อมไม่สามารถสำรวมอินทรีย์ได้ ไม่สามารถมีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีลได้ หรือไม่สามารถสำรวมระวังในเรื่องโคจรและอโคจรได้ ซึ่ง นอกจากเป็นทางก่อให้เกิดอภิชฌาและโทมนัสแก่ตัวพระภิกษุเองโดยตรงแล้ว พฤติกรรมของพระภิกษุที่ ปรากฏต่อสาธารณชน ย่อมทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนาอีกด้วย ภัยอันเกิดจากการเผลอสตินั้น อาจก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งต่อชีวิต ต่อทรัพย์สิน ทั้งต่อตัวเอง และต่อบุคคลอื่น ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสยืนยันว่า ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระองค์จำเป็นต้อง ประกอบด้วย “สติสัมปชัญญะ” 6.2.6 เป็นผู้สันโดษ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงสติสัมปชัญญะแก่พระเจ้าอชาตศัตรูจบลงแล้ว จึงทรงแสดง สันโดษต่อไปว่า “มหาบพิตร อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ” ตรัสดังนี้แล้ว จึงได้ทรงวิสัชนาด้วย พระองค์เองว่า “มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหาร กาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไป ได้เอง มหาบพิตร นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็น ภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้สันโดษ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล สามัญญผลสูตร ที. สี. 9/124/94 บ ท ที่ 6 คุ ณ ธ ร ร ม ที่ ทำ ใ ห้ เ ป็ น ผู้ บ ริ สุท ธิ์ DOU 95
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More