การบริหารกายและท้องของภิกษุ SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 110
หน้าที่ 110 / 209

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น จีวร บาตร และมีดโกน ในการบริหารกายและท้องของภิกษุ โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้ภิกษุใช้จีวรบริหารกาย และบาตรเพื่อยังชีวิต การมีความสันโดษเป็นคุณสมบัติที่นำมาซึ่งความสุขและความเจริญในชีวิต อีกทั้งยังเน้นว่า ความไม่ยินดีย่อมส่งผลเสียต่อการปฏิบัตธรรม และการดำเนินชีวิตของภิกษุ

หัวข้อประเด็น

-การบริหารกาย
-การบริหารท้อง
-ความสันโดษ
-บทบาทของจีวร
-บทบาทของบาตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ถ้าภิกษุใช้นุ่งห่ม จีวรก็ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องบริหารกาย แต่ถ้าใช้จีวรกรองน้ำ จีวรก็ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องบริหาร ท้อง ส่วนบาตรนั้น ถ้าใช้ตักน้ำสรง และประพรมกุฏิ ย่อมเป็นเครื่องบริหารกาย ถ้าใช้บิณฑบาต ย่อม เป็นเครื่องบริหารท้อง สำหรับมีดโกน ถ้าใช้ปลงผมหรือตัดเล็บ ย่อมเป็นเครื่องบริหารกาย แต่ถ้าใช้ปอกผลไม้สำหรับฉัน ย่อมเป็นเครื่องบริหารท้อง บริหารท้อง แม้เข็มถ้าใช้เย็บจีวร ย่อมเป็นเครื่องบริหารกาย แต่ถ้าใช้จิ้มผลไม้ หรือขนมเพื่อฉัน ย่อมเป็นเครื่อง ประคดเอว ถ้าใช้คาดเอว ย่อมเป็นเครื่องบริหารกาย แต่ถ้าใช้มัดอ้อย ย่อมเป็นเครื่องบริหารท้อง กระบอกกรองน้ำ ถ้าใช้กรองน้ำอาบ หรือนำมาประพรมเสนาสนะ ย่อมเป็นเครื่องบริหารกาย แต่ ถ้าใช้กรองน้ำดื่ม ย่อมเป็นเครื่องบริหารท้อง การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วย บิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้องเช่นนี้ คำว่า “จีวร” ย่อมหมายถึง “ไตรจีวร” อันประกอบด้วยสบง จีวร และสังฆาฏิ ซึ่งใช้พันกาย แล้วคาดให้แน่นด้วยประคดเอว ดังนั้นจีวรจึงได้ชื่อว่าเป็นเครื่องบริหารกาย ส่วนบริขารอื่นๆ ก็รวมกันใส่ไว้ในบาตร เมื่อจะเดินทางไปแห่งใดก็คล้องบาตรนั้นไว้ที่จะงอยบ่า ครั้นถึงเวลา เช้า ก็ถือบาตรนั้นออกเดินบิณฑบาตเพื่อยังชีวิต ด้วยเหตุนี้บิณฑบาต จึงได้ชื่อว่าเป็นเครื่องบริหารท้อง ด้วยเหตุนั้น เมื่อภิกษุเพียงแต่สะพายบาตรใบเดียว ก็สามารถไปทุกทิศทุกภาค เปรียบเสมือน นกมีปีกก็สามารถไปได้ทั่วทุกหนทุกแห่ง ภิกษุผู้สันโดษย่อมบริโภคเสนาสนะอันเงียบสงัดได้ตามที่ปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นในป่า โคนไม้ ซอกเขา ชะง่อนผา ในถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่โล่งแจ้ง หรือลอมฟาง เป็นต้น โดย ไม่มีห่วงใยในสิ่งใดๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญความสันโดษไว้ว่า “ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างเยี่ยม” หมายความว่า ความยินดีด้วยของของตนนั้นเป็นทรัพย์อันประเสริฐ เพราะเป็นเหตุให้เกิดความสุข ความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ส่วนความไม่ยินดีในของของตนนั้น เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายหรือเสื่อมทราม อย่างยิ่ง ดังเช่นพระเทวทัตที่ขาดความสันโดษ ไม่รู้จักประมาณตนว่ายังไม่ได้บรรลุธรรมเป็นพระ อริยบุคคลเลย เมื่อเห็นพระอรหันตสาวกรูปอื่นได้รับความเคารพสักการะมากกว่าตน ก็เกิดความริษยา เร่าร้อนใจ ทำให้หลงลืมการบำเพ็ญสมณธรรม กลับไปทะเยอทะยานหวังให้มีผู้คนมาเคารพสักการะตน - พระไตรปิฎกมหาวิตถารนัย 5,000 กัณฑ์ หน้า 322 บ ท ท 6 คุณ ธ ร ร ม ที่ ทำ ใ ห้ เ ป็ น ผู้ บ ริ สุท DOU 99
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More