ข้อความต้นฉบับในหน้า
ความประหยัด ความขยันหมั่นเพียร ฯลฯ แต่ขาดการปลูกฝังอบรมคุณธรรมสำคัญทั้ง 6 ประการที่
กล่าวมาแล้ว โยนิโสมนสิการของเขาก็อาจจะไม่บังเกิดขึ้น
ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมารดาบิดา ที่จะต้องมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝัง
คุณธรรมแก่บุตร เพื่อให้เกิดโยนิโสมนสิการอย่างแท้จริง หาไม่แล้วบุตรของท่านอาจดำเนินชีวิตในทาง
ที่ผิด เมื่อตายไปแล้วก็ต้องไปเสวยทุกข์ในนรก ดังกรณีของพระเทวทัต ซึ่งเรียกได้ว่า “เป็นผู้เดือดร้อนใน
โลกทั้งสอง” ก็เป็นได้
9.12 การสารภาพผิดเป็นสิ่งจำเป็น
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาสามัญญผลที่เห็นประจักษ์จบลงแล้ว นอกจากพระเจ้า
อชาตศัตรูจะได้กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนานั้น ทั้งทรงขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และ
พระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดพระชนม์ชีพแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ยังทรงสารภาพความผิด
ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
“โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ ซึ่งเป็นคนเขลา คนหลง ไม่ฉลาด ข้าพระองค์
ได้ปลงพระชนม์ชีพพระบิดาผู้ดำรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เพราะ
ปรารถนาความเป็นใหญ่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงรับทราบความผิด
ของข้าพระองค์โดยเป็นความผิดจริง เพื่อจะได้สำรวมระวังต่อไป”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
“จริง มหาบพิตร ความผิดได้ครอบงำมหาบพิตรซึ่งเป็นคนเขลา คนหลง
ไม่ฉลาด มหาบพิตรได้ปลงพระชนม์ชีพพระบิดาผู้ดำรงธรรม เป็นพระราชา
โดยธรรม เพราะปรารถนาความเป็นใหญ่ แต่เพราะมหาบพิตรทรงเห็น
ความผิดโดยเป็นความผิดจริงแล้ว ทรงสารภาพตามเป็นจริง ฉะนั้น ตถาคต
ขอรับทราบความผิดของมหาบพิตร ก็การที่บุคคลเห็นความผิดโดยเป็น
ความผิดจริง แล้วสารภาพตามเป็นจริง รับสังวรต่อไป นี้เป็นวัฒนธรรมใน
วินัยของพระอริยะแล
จากบทสนทนาระหว่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระเจ้าอชาตศัตรูที่ยกมานี้ ย่อมให้แง่คิดแก่เรา
ทั้งหลายว่า การสารภาพความผิดเป็นวัฒนธรรม หรือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันเป็นประจำในหมู่พระ
อริยบุคคลในพระพุทธศาสนา และมิใช่เป็นเรื่องของการไถ่บาปแต่ประการใด ในเมื่อการสารภาพ
1 สามัญญผลสูตร ที. ส. 9/139/112-3
บ ท ที่ 9 บ ท ส่ ง ท า ย DOU 155