การสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ของพระภิกษุ SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 87
หน้าที่ 87 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการระมัดระวังในพระปาฏิโมกข์สำหรับพระภิกษุ โดยชี้ให้เห็นว่าแม้ข้อผิดพลาดเล็กน้อยก็อาจนำไปสู่บาปและโทษที่ใหญ่ขึ้น พระภิกษุต้องมีความตั้งใจในการศึกษาต่อศีลและสิกขาบทต่างๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและบริสุทธิ์ ทั้งนี้ต้องมีที่มีการสำรวมระวังและเห็นภัยในโทษอย่างชัดเจนให้อยู่เสมอ การรักษาศีลและการฝึกตนให้เข้มงวดจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติอย่างแท้จริงและหลีกเลี่ยงความหายนะในภายหลัง.

หัวข้อประเด็น

-การฝึกตนของพระภิกษุ
-การระมัดระวังในโทษ
-ความสำคัญของศีล
-การศึกษาในสิกขาบท
-ผลกระทบของความผิดพลาดเล็กน้อย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เป็นโทษอยู่นั่นเอง ไม่มีทางจะเป็นคุณไปได้ ยิ่งไปกว่านั้น โทษภัยแม้เพียงเล็กน้อย ยังสามารถเป็นเชื้อ แพร่กระจาย ทำให้เกิดโทษภัยลุกลามกว้างขวางใหญ่โตออกไปอีกด้วย อุปมาเหมือนลูกไฟ แม้เล็กนิดเดียว หากกระเด็นไปถูกวัตถุไวไฟเข้าก็อาจจะเผาบ้านเมืองได้ พระภิกษุที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ก็เพราะมีจุดมุ่งหมายที่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ บริสุทธิ์ เพื่อให้ถึงซึ่งความเป็นผู้ประเสริฐ ดังนั้นจึงต้องพยายามละเว้นความชั่วทุกอย่าง ด้วยการระมัดระวัง มิให้ประพฤติผิดศีลอย่างเด็ดขาด แต่ถ้าเมื่อใดเกิดประพฤติผิดพลาดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยโดยมิได้เจตนา ก็จะต้องตระหนักว่านั่นคือตนได้ก่อบาปอกุศลขึ้นแล้ว จำเป็นที่จะต้องระมัดระวัง แก้ไข ปรับปรุง หรือ หลีกเลี่ยงการปฏิบัติเพื่อที่จะไม่ให้บาปอกุศลเกิดขึ้นอีกในภายหน้า ทั้งจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ความผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อย ก็ยังเป็นความผิดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จะมีโทษเพียงเล็กน้อย ก็ยังเป็นโทษอยู่นั่นเอง ไม่มีทางจะเป็นคุณไปได้เลย หากพระภิกษุตั้งอยู่ ในความประมาท มองข้ามภัยของโทษแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจจะประสบความหายนะได้ ขึ้นชื่อว่าอสรพิษแล้ว ไม่ว่าจะตัวเล็กแค่ไหน ก็มีอันตรายไม่แพ้ตัวใหญ่ ด้วยเหตุนี้พระภิกษุจึงต้องฝึกตนให้เป็นผู้ “มีปรกติเห็นภัย ในโทษแม้เพียงเล็กน้อย” 3) สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย “สมาทาน” หมายถึง การรับเอาเป็นข้อปฏิบัติ “สิกขาบท” หมายถึงศีลแต่ละข้อๆ พระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา เมื่อสำเร็จญัตติจตุตถกรรม ในท่ามกลางสงฆ์ ได้รับความยินยอมจากพระภิกษุทั้งปวง ในองค์ประชุมสงฆ์ในพิธีอุปสมบท ให้มีภาวะเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมถือว่าได้สมาทาน ศีล สิกขาบทน้อยใหญ่ไว้สมบูรณ์เรียบร้อยแล้วทันที ไม่ต้องมีการสมาทานกันอีก ดังนั้น พระภิกษุจึงจำเป็นต้องศึกษาเจตนารมณ์ หรือจุดมุ่งหมายของสิกขาบทแต่ละข้อๆ ที่ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ทั้งต้องจำได้ขึ้นใจ เพื่อให้สามารถปฏิบัติสิกขาบทแต่ละข้อๆ ได้โดยบริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่มีผิดพลาด จึงจะได้ชื่อว่า “สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย” พระภิกษุผู้มีการปฏิบัติพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย และ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดังได้พรรณนามาแล้วนี้ ย่อมได้ชื่อว่า “สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์” หรือบริบูรณ์พร้อมด้วย “ปาฏิโมกขสังวรศีล” มีสิ่งที่น่าพิจารณาอยู่อย่างหนึ่ง คือ การสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ของพระภิกษุจะประสบ ความสำเร็จได้ก็ด้วยศรัทธาของพระภิกษุเองไม่มีใครบังคับได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงกำชับพระภิกษุสงฆ์ ญัตติจตุตถกรรม แปลว่า กรรมมีญัตติเป็นที่ 4 ได้แก่ การทำสังฆกรรมที่สำคัญ มีการอุปสมบท เป็นต้น ซึ่งเมื่อตั้ง ญัตติแล้ว ต้องสวดอนุสาวนาคำประกาศขอมติถึง 3 หน เพื่อสงฆ์ คือ ที่ชุมนุมนั้นจะได้มีเวลาพิจารณาหลายเที่ยวว่า จะอนุมัติ หรือไม่ 76 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More