ความหมายและความสำคัญของสติสัมปชัญญะในพระพุทธศาสนา SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 105
หน้าที่ 105 / 209

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับสติสัมปชัญญะในพระพุทธศาสนา แสดงให้เห็นว่าภิกษุที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะจะทำความรู้สึกตัวในทุกการกระทำ รวมถึงการพูด คิด และทำต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญมากในการไม่ให้เกิดความเสียหาย และเป็นพื้นฐานสำหรับการเจริญภาวนาเพื่อมรรคผลนิพพาน นอกจากนี้ยังมีการแบ่งประเภทของสัมปชัญญะออกเป็น 4 ประการตามคัมภีร์อรรถกถา ปาฏิกวรรค เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะและความสำคัญของสิ่งดังกล่าวในชีวิตประจำวัน.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของสติสัมปชัญญะ
-การใช้ในชีวิตประจำวัน
-ประเภทของสัมปชัญญะ
-สติในพระพุทธศาสนา
-การเจริญภาวนาเพื่อมรรคผลนิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

6.2.5 ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เมื่อตรัสอธิบายเรื่องคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายจบลงแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดง อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะแก่พระเจ้าอชาตศัตรูว่า “มหาบพิตร สติสัมปชัญญะ” ตรัสดังนี้แล้ว จึงได้ทรงวิสัชนาด้วยพระองค์เองว่า “มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการกู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน ในการดื่ม ในการเคี้ยว ในการลิ้ม ในการถ่าย อุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วย ประการดังกล่าวมานี้แล ตามรูปศัพท์ คำว่า “สติ” หมายถึง ความระลึกได้ นึกได้ อาการที่จิตฉุกคิดขึ้นได้ เช่นฉุกคิด ขึ้นได้ว่า ถึงเวลาสวดมนต์แล้วเป็นต้น ดังนั้น “สติ” จึงเป็นอาการที่จิตนึกขึ้นได้ ซึ่งตรงข้ามกับอาการที่เรียกว่า “เผลอ” หรือ “ลืม” ในพระพุทธศาสนา ถือว่า “สติ” เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก กล่าวคือ “สติ” ช่วยไม่ให้งานการเสียหาย เพราะลืม ทั้งนี้เพราะการงานบางอย่าง ถ้าลืมเสียย่อมจะเกิดความเสียหายร้ายแรงได้ เช่น หมอลืมให้ยา คนไข้ คนไข้ก็อาจเสียชีวิต พระลืมลงสวดปาฏิโมกข์ก็ต้องอาบัติ เป็นต้น ดังนั้นสติจึงเป็นธรรมมีอุปการะมาก เพราะช่วยไม่ให้เราเผลอ ไม่ให้หลงลืมในสิ่งที่ควรทำหรือต้องทำ ยิ่งกว่านั้นสติยังเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่ง ในการเจริญภาวนาเพื่อมรรคผลนิพพานต่อไปอีกด้วย คำว่า “สัมปชัญญะ” หมายถึง ความรู้สึกตัว หรืออาการรู้ตัวในขณะทำอยู่ เช่น รู้ว่าเรากำลังพูด อะไร กำลังคิดอะไร หรือ กำลังทำอะไร พระพุทธศาสนาถือว่า “สัมปชัญญะ” เป็นธรรมที่มีอุปการะมากอีกข้อหนึ่งโดยทั่วไปจะใช้คู่กับ “สติ” เรียกว่า “สติสัมปชัญญะ” โดยถือว่า “สติ” เกิดก่อนทำ พูด และคิด ส่วน “สัมปชัญญะ” เกิดในขณะกำลัง ทำ พูด และ คิด แต่ธรรมทั้งสองนี้จะเกิดควบคู่กันเสมอ ใน คัมภีร์อรรถกถา ปาฏิกวรรค ได้แบ่งสัมปชัญญะออกเป็น 4 ประการ คือ 1. สาตถูกสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัวว่า สิ่งที่ตนกำลังทำนั้นมีประโยชน์หรือไม่ 2. สัปปายสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัวว่า สิ่งที่ตนกำลังทำนั้นเป็นที่สบายหรือเหมาะสมกับตนหรือไม่ 3. โคจรสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัวว่า สิ่งที่ตนกำลังทำนั้นเป็นกิจที่ควรทำหรือไม่ สามัญญผลสูตร ที. ส. 9/123/94 94 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More