ข้อความต้นฉบับในหน้า
กรณีนี้กล่าวได้ว่า “อกุศลสามารถเป็นเหตุชักนำไปสู่กุศลได้บ้าง สำหรับบุคคลที่มีปัญญา” ดังนั้น
ขณะที่พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ถือได้ว่าทรงเริ่มมุ่งเป้าหมายบนฟ้าแล้ว
อนึ่ง บุรุษทั้งหลายที่มองเห็นว่า “ชีวิตฆราวาสนั้นคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี ส่วนบรรพชาเป็น
ทางปลอดโปร่ง” จึงตัดสินใจบวชเป็นพระภิกษุอยู่ในพระพุทธศาสนา มีความตั้งใจที่จะฝึกฝนอบรมตนตาม
พระธรรมวินัยให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่ามีเป้าหมายบนฟ้าอย่างชัดเจน
เมื่อบวชเป็นภิกษุแล้ว ย่อมสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ปฏิบัติตามศีลระดับต่างๆ สำรวมอินทรีย์
มีความสันโดษ การปฏิบัติเหล่านี้ล้วนเป็นวิธีพัฒนาจิตใจให้บริสุทธิ์ขึ้นตามลำดับๆ
3. เป้าหมายระดับสูง เป็นเป้าหมายที่มุ่งความหลุดพ้น เพื่อบรรลุนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมาย
สูงสุดในพระพุทธศาสนา อาจเรียกง่ายๆ ว่า “เป้าหมายเหนือฟ้า”
เป้าหมายระดับนี้ มีปรากฏเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ปรากฏอยู่ในคำสอนของศาสนา
อื่นใดในโลกเลย นี่คือคุณวิเศษอย่างยิ่งของพระพุทธศาสนา เพราะเป็น “ศาสนาแห่งปัญญาโดยแท้”
พระพุทธศาสนามุ่งเน้นการปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญ การศึกษาภาคทฤษฎี หรือพระปริยัติธรรมนั้น ก็
เพื่อยึดไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพราะถ้าไม่รู้หลักก็ปฏิบัติไม่ถูก ดังนั้นจะเห็นว่าคำสั่งสอนในพระพุทธ
ศาสนา ซึ่งเริ่มจากพระวินัยต่อไปถึงพระสูตรนั้น ล้วนเป็นหลักสำหรับพุทธศาสนิกชน ที่จะต้องศึกษาให้
เกิดความเข้าใจ แล้วยึดไว้เป็นหลักปฏิบัติ พุทธศาสนิกชนที่ยังเป็นฆราวาสอยู่ ย่อมยากจะปฏิบัติตาม
พระธรรมวินัยให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ จึงจำเป็นต้องบวชเข้ามาเป็นบรรพชิต เพื่อจะได้มีโอกาสศึกษา
พระธรรมวินัย ตลอดจนพระสูตร แล้วปฏิบัติตามให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม ฆราวาสที่ตั้งใจปฏิบัติ
พระศาสนา ก็สามารถประสบผลสำเร็จถึงขั้นอริยบุคคลได้เช่นกัน
การปฏิบัติตามพระธรรมวินัยนั้นมีอยู่หลายระดับ ระดับต่ำที่สุดก็คือ ศีลระดับต่างๆ ทั้งจุลศีล
มัชฌิมศีล และมหาศีล เรื่อยขึ้นไป จนถึงการเจริญสมถภาวนา และการเจริญวิปัสสนาภาวนา ซึ่งเป็น
การปฏิบัติระดับสูงสุด และถือเป็นหัวใจสำคัญในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวิธีการสำคัญที่สุดที่นำไปสู่
มรรคผลนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา
อนึ่งฆราวาสที่เป็นพุทธศาสนิกชน ก็ยังมีจำนวนไม่น้อย ที่ยังไม่เข้าใจคุณของการเจริญภาวนา จึงยัง
สงสัยไม่แน่ใจเรื่อง มรรคผลนิพพาน อย่างไรก็ตาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงชี้ทางปฏิบัติโดยลำดับ และ
ทรงยืนยันผลแห่งการปฏิบัติของแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจนในสามัญญผลสูตร ซึ่งอาจจะกล่าวสรุป
ให้เข้าใจได้ง่ายๆ ว่า
“พระพุทธศาสนาเน้นการชำระใจให้บริสุทธิ์จากกิเลสทั้งปวงด้วยศีล (ซึ่งหมายรวมถึงพระวินัย
ทั้งหมด) และสมาธิ ใจยิ่งบริสุทธิ์เท่าใด กิเลสในจิตใจก็น้อยลงเท่านั้น ใจยิ่งบริสุทธิ์เท่าใด ก็ยิ่งสว่างไสว
เท่านั้น ใจยิ่งบริสุทธิ์เท่าใด ก็บรรลุธรรมกายที่ละเอียดประณีตยิ่งขึ้นเท่านั้น และด้วยตาของธรรมกาย
บ ท ที่ 9 บ ท ส่ ง ท้ า ย DOU 143