การหลีกเลี่ยงติรัจฉานวิชาในพระพุทธศาสนา SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 174
หน้าที่ 174 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการเรียกร้องให้พุทธศาสนิกชนระมัดระวังการเชื่อถือคำสอนที่งมงายในกลุ่มพระภิกษุ รวมถึงการหลีกเลี่ยงการสนับสนุนพระทุศีลเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนา ตัวอย่างในอดีตชี้ให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมที่เกิดจากระบบวรรณะและการเกิดขึ้นของแนวคิดใหม่ในสังคม

หัวข้อประเด็น

-ติรัจฉานวิชา
-พระพุทธศาสนา
-การสนับสนุนพระที่มีคุณธรรม
-ความไม่เป็นธรรมในสังคม
-แนวคิดใหม่ในยุคพุทธกาล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บางท่านอาจอ้างว่า การประกอบติรัจฉานวิชาบางอย่างนั้น มิได้มุ่งหวังลาภสักการะใดๆ แต่มี จุดมุ่งหมายเพื่อการสังคมสงเคราะห์ ท่านจะอ้างเหตุผลอย่างไรก็ตาม แต่เมื่อการกระทำของท่านออกไป นอกกรอบของพระธรรมวินัยแล้ว ก็ย่อมถูกมองว่า “นอกลู่นอกทาง” อยู่นั่นเอง ยิ่งกว่านั้น หากมีพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งประกอบติรัจฉานวิชาขึ้น ก็ย่อมจะเป็นตัวอย่างให้พระภิกษุ รูปอื่นๆ ประกอบตามบ้าง ซึ่งจะเป็นช่องทางให้มิจฉาทิฏฐิบุคคลบางคน ยึดเอาเพศบรรพชิตบังหน้า เพื่อ แสวงหาลาภสักการะ นับเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาโดยตรง อย่างไรก็ตามในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน เมื่อได้ประสบว่า พระภิกษุรูปใดประพฤตินอกลู่นอกทาง ควรหลีกเลี่ยงเสีย ไม่ให้ความเคารพนับถือ ดังที่พระเจ้าอชาตศัตรูทรงปฏิบัติต่อครูทั้ง 6 การที่ประชาชน ไม่ให้การสนับสนุนพระทุศีล ก็ถือว่าได้ทำหน้าที่ปกป้องพระพุทธศาสนาแล้ว อนึ่ง การหลงนับถือคำสอนที่งมงายของนักบวชบางรูป ก็อาจทำให้เราพลอยสร้างบาปโดยไม่รู้ตัว ดังเช่น กรณีครูปกุทธกัจจายนะ 1 ในครูทั้ง 6 ซึ่งสอนว่า การฆ่าคนไม่บาป เพราะเป็นเพียงการสอดศาสตรา เข้าไประหว่างกองธาตุทั้ง 7 ซึ่งประกอบขึ้นเป็นร่างกายคนเรา ถ้าประชาชนต่างพากันเชื่อคำสอนเช่นนี้ คนเราก็คงจะสร้างบาปกันทั่วไป แล้วสังคมจะสงบได้อย่างไร เพราะฉะนั้น การเลือกนับถือนักบวชจึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยใช้เกณฑ์วัด คุณภาพของคน ดังที่ได้อธิบายแล้ว 9.15 เหตุแห่งการเกิดของศาสดาใหม่ๆ ถ้าลองย้อนไปศึกษาประวัติศาสตร์สมัยก่อนพุทธกาล ก็จะพบว่าสภาพสังคมของชาวอินเดีย โบราณนั้น ยึดถือระบบวรรณะ 4 คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร อย่างเหนียวแน่นมาโดยตลอด สิ่งนี้ ย่อมสร้างความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมแก่ผู้ที่อยู่ในวรรณะต่ำเป็นอย่างยิ่ง ส่วนในด้านความเชื่อนั้น เราก็จะพบว่าชาวอินเดียโบราณทุกชั้นวรรณะ ล้วนนับถือและบูชาเทพเจ้ามาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาลแล้ว แต่ถึงแม้จะกราบไหว้อ้อนวอนขอพรเทพเจ้า ให้ปกป้องคุ้มครองรักษาสักเพียงใด ครั้นเมื่อยามประสบ ทุกข์โศกโรคภัย เทพเจ้าก็ไม่สามารถช่วยให้รอดพ้นได้สักครั้ง สภาพชีวิตที่ต้องประสบกับความทุกข์ และความไม่เป็นธรรมในสังคมที่เกิดขึ้นเนืองๆ ย่อมทำให้ ผู้คนเกิดความเบื่อหน่าย เอือมระอาสภาพที่เป็นอยู่อย่างแน่นอน ในขณะเดียวกันก็ย่อมจะมีผู้หาแนวคิดใหม่ เกี่ยวกับโลกและชีวิตเกิดขึ้นเรื่อยๆ ที่เห็นได้ชัดก็คือ การเกิดขึ้นของนักคิดหรือนักปรัชญาที่มีความคิด ก้าวหน้า 6 ท่าน ซึ่งมีศัพท์ทางศาสนาเรียกว่า “ติตถกร” หรือนิยมเรียกว่า “ครูทั้ง 6” แม้พระพุทธศาสนา ก็ถือได้ว่าเป็นแนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้นในยุคนั้น จากแนวคิดของครูทั้ง 6 ที่กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ชัดว่าทุกท่านมีหัวก้าวหน้ามาก เพราะพยายาม บ ท ที่ 9 บ ท ส่ ง ท้ า ย DOU 163
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More