ข้อความต้นฉบับในหน้า
เช่นเดียวกับการที่เราตั้งใจซื้อสินค้าอย่างหนึ่งอย่างใด แล้วได้ของแถมเพิ่มมาอีก ข้อนี้ฉันใด “มโนมยิทธิ”
ก็ฉันนั้น
8.4 สามัญญผลลำดับที่ 3
เมื่อผู้เจริญภาวนาบรรลุ “มโนมยิทธิ” แล้ว ถ้ายังสามารถประคองจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ต่อไปอีก
จิตย่อมบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ผ่องแผ้วสุกสว่างยิ่งขึ้น ย่อมปราศจากกิเลสและอุปกิเลส จึงมีประสิทธิภาพในการงาน
ยิ่งขึ้นอีก หากน้อมจิตไปเพื่อให้ได้ฤทธิ์ ก็จะบรรลุอิทธิฤทธิ์สูงขึ้นกว่าสามัญญผลลำดับที่ 2 จึงสามารถ
แสดงปาฏิหาริย์ได้มากขึ้น เช่น นิรมิตคนเดียวให้เป็นหลายคนได้ หลายคนให้เป็นคนเดียวได้ ล่องหนหายตัวได้
หรือเหาะเหินเดินอากาศได้ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรูว่า
“ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ
แสดงฤทธิ์ เธอบรรลุ “อิทธิวิธี” หลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง
ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือน
ในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ
เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วย
ฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
มหาบพิตร เปรียบเหมือนช่างหม้อ หรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อ
นวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ จึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีก
นัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่าง (แกะสลัก) งา หรือลูกน้องของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อ
แต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงาชนิดใดๆ จึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทอง หรือลูกมือช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว
ต้องการทองรูปพรรณชนิดใดๆ จึงทำทองชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จ ได้ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ
แสดงฤทธิ์ เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ (ดังกล่าวแล้ว) มหาบพิตร นี้แหละ
สามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญญผลที่เห็น
ประจักษ์ข้อก่อนๆ”
*สามัญญผลสูตร ที. ส. 9/133/103
ลเบื้อ
บ ท ที่ 8 ส า ม ญ ญ ผ ล เ มื อ ง สูง
DOU 121