แนวคิดเกี่ยวกับกรรมและการเซ่นสรวงในพระพุทธศาสนา SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 185
หน้าที่ 185 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงแนวคิดในพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับกรรมและการเซ่นสรวง โดยเน้นว่าไม่มีผลทางสังคมหรือในชีวิตหลังความตาย นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความเข้าใจต่อการใช้ศิลปศาสตร์เพื่อเลี้ยงชีพและผลกระทบที่ตามมา การสนทนาระหว่างผู้คนเกี่ยวกับสามัญญผลและหลักธรรมะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาและพิจารณาเหตุผลของธรรมชาติ รวมถึงความเข้าใจถึงชะตากรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นผลจากธาตุทั้งสี่ การวางนิยามและเข้าใจในตัวเองและโลกที่จะมีความชัดเจนขึ้น เนื้อหานี้ให้ผู้สนใจในพระพุทธศาสนาได้ย้อนกลับมาพิจารณาอริยสัจ 4 และความจริงแห่งชีวิตสำหรับการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้นโดยไม่มีการยึดติดกับความศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่มีพื้นฐาน.

หัวข้อประเด็น

-กรรมและผลของการกระทำ
-การเซ่นสรวงและความเชื่อ
-แนวคิดในพระพุทธศาสนา
-การศึกษาและผลการดำเนินชีวิต
-ธาตุทั้งสี่ในธรรมชาติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ดูกรมหาบพิตร ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี ทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งกระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก คนเรานี้ เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ เมื่อทำกาลกิริยา ธาตุดินไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟ ไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ คนทั้งหลายมีเตียงเป็น ที่ 5 จะหามเขาไป ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกมีสีดุจสีนกพิราบ การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็น ที่สุด ทานนี้ คนเขลาบัญญัติไว้ คำของคนบางพวกพูดว่า มีผลๆ ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะ กายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่ตายย่อมไม่เกิด ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครูอชิตเกสกัมพล กลับตอบ ถึงความขาดสูญ ฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันถามถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ครู อชิตเกสกัมพล กลับตอบถึงความขาดสูญ เปรียบเหมือนเขาถามถึงมะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ หรือเขาถามถึง ขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง ฉะนั้น หม่อมฉันมีความดำริว่าไฉน คนอย่างเราจะพึงมุ่งรุกรานสมณะหรือพราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของครูอชิตเกสกัมพล ไม่พอใจ แต่ก็มิได้เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่ใส่ใจถึงวาจานั้น ลุกจากที่นั่งหลีกไป วาทะของศาสดาปกุทธกัจจายนะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อมฉันเข้าไปหาครูปกุทธกัจจายนะ ถึงที่อยู่ ได้กล่าวว่า ท่านกัจจายนะ ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านั้น คือ พลช้าง ... คนเหล่านั้น ย่อมอาศัย ผลแห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดา บิดา บุตร ภริยา มิตร อำมาตย์ ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อ ให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านอาจบัญญัติสามัญญผล ที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนอย่างนั้นได้หรือไม่ เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูปกุทธกัจจายนะ ได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า ดูกรมหาบพิตร สภาวะ 7 กองเหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครนิรมิต ไม่มีใครให้นิรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด สภาวะ 7 กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กัน และกัน สภาวะ 7 กอง เป็นไฉน คือกองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ ชีวะเป็นที่ 7 สภาวะ 7 กองนี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครนิรมิต ไม่มีใครให้นิรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ตั้งอยู่มั่นดุจ 174 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More