การปฏิบัติต่อพระภิกษุในพระธรรมวินัย SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 151
หน้าที่ 151 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการแสดงความเคารพยกย่องพระภิกษุและการปฏิบัติต่อพระภิกษุที่ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย โดยมีการแนะนำวิธีการพิจารณาและแนวทางการดำเนินการ เพื่อให้นักปฏิบัติธรรมเข้าใจบทบาทของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาและการรักษาให้ศาสนายังคงยั่งยืน ในบทนี้ยังได้ระบุถึงความสำคัญของการมีพระภิกษุที่ประพฤติดีและน้อมนำพุทธธรรมไปสู่สังคม ซึ่งถ้าหากไม่มีการสนับสนุนและปฏิบัติที่ถูกต้องก็อาจนำไปสู่การล่มสลายของพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-การเคารพพระภิกษุ
-พระภิกษุและพระธรรมวินัย
-การพัฒนาตนเองของภิกษุ
-การตักเตือนพระภิกษุ
-การรักษาพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1.4 แสดงความเคารพยกย่องนับถือ ติดตามศึกษาและปฏิบัติธรรมจากพระภิกษุ โดยยึด ท่านเป็นครูอาจารย์ 1.5 ระลึกอยู่เสมอว่า พระภิกษุที่บริบูรณ์บริสุทธิ์พร้อมด้วยศีล สมาธิ และปัญญา คือ ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง หากขาดพระภิกษุที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบเหล่านี้แล้ว พระพุทธ ศาสนาจะล่มสลาย 2. การปฏิบัติต่อพระภิกษุที่ย่อหย่อนในพระธรรมวินัย พระภิกษุที่บวชโดยมีเป้าหมาย แม้จะมีความตั้งใจที่จะฝึกอบรมและพัฒนาตนเองอย่างแท้จริง แต่การที่พระภิกษุแต่ละรูปจะบริบูรณ์พร้อมด้วย คุณธรรมที่ทำให้เป็นผู้บริสุทธิ์ ดังที่กล่าวไว้ในบทที่ 6 นั้น มิใช่ของง่ายเลย จำเป็นต้องใช้เวลานานพอสมควร ดังนั้นเมื่อพุทธศาสนิกชนได้พบเห็นพระภิกษุที่ ย่อหย่อนในพระธรรมวินัยแล้ว จะต้องพิจารณาแยกแยะตามประเด็นต่างๆ ดังนี้ 2.1 ท่านเป็นภิกษุใหม่หรือบวชมานานแล้ว ภิกษุใหม่มีคำศัพท์ทางศาสนาว่า “นวกะ” คือ ภิกษุที่บวชมาต่ำกว่า 5 พรรษา ภิกษุใหม่เหล่านี้ บางรูปอาจจะบวชยังไม่ครบพรรษาด้วยซ้ำ จึงยังไม่ สามารถพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะของพระภิกษุที่ดี แม้ในระดับเบื้องต้น บุคคลใดก็ตาม ถ้าได้พบภิกษุใหม่ หรือแม้ภิกษุที่บวชมานานแล้ว ประพฤติย่อหย่อนในพระธรรมวินัย ขั้นแรกควรแจ้งต่อพระอุปัชฌาย์ หรือ เจ้าอาวาสวัดที่ภิกษุนั้นๆ สังกัดอยู่ เพื่อให้มีการตักเตือนและปรับปรุงแก้ไขกันเองต่อไป 2.2 หากมีพยานหลักฐานชัดแจ้งว่า พระภิกษุรูปนั้นประพฤติผิดพระธรรมวินัยร้ายแรง ต้องแจ้งผู้ปกครองฝ่ายศาสนจักร หรืออาณาจักร (แล้วแต่กรณี) ให้ทราบ เพื่อจะได้หาทางแก้ไขทันท่วงที หรือกำจัดไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป 2.3 งดการแสดงความเคารพ ยกย่อง นับถือ ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า ต้อง งดการแสดงความเคารพ ยกย่อง นับถือ เฉพาะรายบุคคลที่ประพฤติผิดหรือย่อหย่อนเท่านั้น มิใช่เหมา รวมไปถึงพระภิกษุที่ดีๆ แล้วร้องว่าตนจะเลิก นับถือศาสนาแล้ว 2.4 ระลึกอยู่เสมอว่า พระภิกษุกลุ่มที่ 2 นี้ คือ ผู้บ่อนทำลายพระพุทธศาสนา 2.5 งดการทำนุบำรุงส่งเสริมสนับสนุนเป็นการส่วนตัว พระภิกษุที่ย่อหย่อนในพระธรรมวินัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระภิกษุที่บวชมานาน ตามปกติถ้า ไม่ได้รับการทำนุบำรุงสนับสนุนในด้านปัจจัย 4 เป็นการส่วนตัวโดยตรงจากศาสนิกชนแล้ว ย่อมดำรงอยู่ ในสมณเพศต่อไปไม่ได้ หากภิกษุรูปหนึ่งรูปใดในกลุ่มนี้ สำนึกในความย่อหย่อนหรือการปฏิบัตินอกลู่นอกทาง ของตนแล้ว ก็ย่อมจะต้องรีบปรับปรุงวัตรปฏิบัติของตนเสียใหม่ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย แต่ภิกษุ ประเภท ที่บวชแบบเอาผ้าเหลืองบังหน้า มีความเกียจคร้าน หรืออาศัยความเป็นพระประกอบติรัจฉานวิชา เมื่อขาดการสนับสนุนจากศาสนิกชนแล้ว ย่อมดำรงอยู่ในสมณเพศต่อไปไม่ได้ ในที่สุดก็จะลาสิกขาไปเอง 140 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More