ข้อความต้นฉบับในหน้า
อย่างไรก็ตาม มีข้อที่น่าสังเกตว่า พระภิกษุทุศีลที่มีกรณีอื้อฉาว นับตั้งแต่พระเทวทัต จนถึง
พระภิกษุในสมัยปัจจุบัน ที่สามารถประกอบกรรมชั่วช้าสามานย์ แต่ละรูปล้วนเกี่ยวข้องหรือได้รับการทำนุ
บำรุง ส่งเสริมจากศาสนิกชนทั้งสิ้น ซึ่งศาสนิกชนบางคนอาจจะมีผลประโยชน์ร่วมกับพระทุศีลนั้นๆ หรือ
บางคนก็หลงเคารพบูชาด้วยความโง่งมงาย เพราะไม่เคยใส่ใจศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนที่แท้จริง ขององค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
9.5 เป้าหมายชีวิตของมนุษย์
มักจะมีผู้สงสัยและตั้งคำถามกันว่า “คนเราเกิดมาทำไม” แต่เมื่อถามคำถามนี้ออกไปแล้ว
ก็ไม่สามารถหาคำตอบ ที่ทำให้รู้สึกพอใจได้ ในที่สุดก็มักจะมีคำตอบในทำนองว่า ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะ
ถามคำถามที่เป็นอจินไตย (คำถามที่พ้นความคิด หรือที่ไม่ควรคิด) ทั้งที่เรื่องนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัส
ตอบไว้อย่างชัดเจนแล้วในสามัญญผลสูตร
จากพระสูตรนี้ เราสามารถสรุปเป้าหมายชีวิตมนุษย์ได้ 3 ระดับ คือ
1. เป้าหมายระดับต้น
2. เป้าหมายระดับกลาง
3. เป้าหมายระดับสูงสุด
1. เป้าหมายระดับต้น ได้แก่ เป้าหมายชีวิตที่ปุถุชน (ผู้ที่ยังมีกิเลสหนา) โดยทั่วไปคิดและปฏิบัติ
กันอยู่ เป้าหมายระดับต้นนี้ อาจเรียกง่ายๆ ว่า “เป้าหมายบนดิน” เป็นการตั้งเป้าหมายของคนที่มุ่งแสวงหา
ความสุขสบายในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ตามความคิดของแต่ละคน ดังที่พระเจ้าอชาตศัตรูทูลพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าว่า “ผู้คนทั่วไปต่างก็อาศัยความรู้ความสามารถของตน ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและ
ครอบครัวรวมทั้งบำรุงบิดามารดาให้เป็นสุข...”
จากข้อความที่ยกมานี้ จะเห็นว่าสอดคล้องกับความคิดของคนในสังคมโดยทั่วไปที่มองว่าเงิน คือ
อำนาจ ยิ่งรวยเท่าไร ก็ยิ่งมีความสุขเท่านั้น เพราะมีความคิดทำนองนี้ จึงเห็นคนในสังคมทุกยุคทุกสมัย
ทุ่มเทชีวิตทำมาหากิน เพื่อหวังความมั่งคั่งร่ำรวย อันจะเป็นพื้นฐานไปสู่การมีอำนาจและบริวารมากมาย
เมื่อประกอบอาชีพสุจริตไม่รวย บางคนก็หันไปประกอบอาชีพทุจริต ยอมเสี่ยงคุกเสี่ยงตะราง ดังที่ปรากฏ
เป็นข่าวอยู่เนืองๆ
บุคคลที่มีเป้าหมายบนดิน ก็อาจจะประสบทั้งสุขและทุกข์ระคนกันไปตามประสาปุถุชน ที่แน่นอน
ก็คือ ผู้ที่บรรลุ “เป้าหมายบนดิน” ย่อมประสบความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน และอาจมีอำนาจ มี
เกียรติยศ ชื่อเสียงในสังคมด้วย
บ ท ที่ 9 บ ท ส่ ง ท า ย
DOU 141