พระพุทธคุณและการประกาศพระศาสนา SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 72
หน้าที่ 72 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงคุณสมบัติและพระพุทธคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมถึงการแนะนำตัวที่สำคัญในบริบทของการประกาศพระศาสนา. พระองค์ทรงเข้าใจขันธ์ ธาตุ และ อริยสัจได้อย่างละเอียด โดยเฉพาะการจำแนกทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, และมรรค. การสอนของพระองค์ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การบรรยาย แต่ยังรวมถึงการบำบัดทุกข์ให้กับสาธารณชน และการนำทางสู่สุขที่แท้จริง. นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความสำคัญของการแนะนำตัวของวิทยากรเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและความศรัทธาจากผู้ฟังซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอภิปรายหรือการพูด.

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การประกาศพระพุทธคุณ
-การแนะนำตัววิทยากร
-อริยสัจ
-วิธีการบำบัดทุกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทรงเป็นสัพพัญญู ทรงรู้แจ้งธาตุธรรมทั้งปวงด้วยญาณของธรรมกาย จึงทรงสามารถจำแนกแยกแยะ ธรรมส่วนที่ละเอียดๆ ให้เห็น เช่น ทรงจำแนกขันธ์ ธาตุ อายตนะ จิต อินทรีย์ ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ เป็นต้น ทรงจำแนกอริยสัจออกเป็น “ทุกข์” มีความหมายว่าเป็นเครื่องบีบคั้น ปัจจัยปรุงแต่งให้เร่าร้อน แปรปรวน เป็น “สมุทัย” มีความหมายว่า เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็น “นิโรธ” มีความหมายว่า เป็นสภาพ ที่ทุกข์ดับไป เป็นความสงัด ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ยังผลให้ “หยุด” ตลอดไป เป็น “มรรค” มีความหมายว่า เป็นเหตุนำออกจากทุกข์ เมื่อทรงจำแนกธรรมแล้ว ก็ทรงนำไปสั่งสอนตลอดเวลาแห่งการประกาศ พระศาสนา อนึ่ง ภาวะที่พระองค์ทรงเป็นที่นับถือของชาวโลก อย่างกว้างขวาง การที่พระองค์ทรงบำบัดทุกข์ ทางกาย และใจให้แก่หมู่ชนที่เข้าไปเฝ้า การที่ทรงอุปการะชนเหล่านั้นด้วยอามิสทาน และธรรมทาน ตลอดจน ทรงพระปรีชาสามารถชักนำให้สัตว์ทั้งหลายประสบความสุข ทั้งที่เป็นโลกียะและโลกุตตระ คุณสมบัติเหล่านี้คือที่มาของพระนามว่า “ภควา 5) ผู้คบวิหารธรรมฝ่ายดี หมายความว่า พระองค์ทรงเสพทิพยวิหาร พรหมวิหาร อริยวิหาร ทรง เสพความสงัดทางกาย ทางใจ สงบอยู่ในธรรมกาย ทรงเสพรสแห่งอมตธรรม หรือนิพพาน เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงทรงพระนามว่า “ภควา 6) ผู้คายตัณหาในภพ หมายความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์ หมดจดจาก อาสวกิเลสทั้งปวง ย่อมบรรลุนิพพาน ไม่มีการเวียนกลับไปสู่ภพ 3 อีก เพราะเหตุนี้จึงทรงพระนามว่า “ภควา” 5.5 ความสำคัญของการประกาศพระพุทธคุณ การประกาศพระพุทธคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แท้ที่จริงก็คือ การแนะนำตัววิทยากรให้ ผู้ฟังรู้จัก ดังที่นิยมกระทำกันอยู่ในการสัมมนา หรือการประชุมต่างๆ ในปัจจุบัน ในการประชุมสัมมนา โดยทั่วไปจะมีพิธีกร หรือผู้ดำเนินการอภิปรายเป็นผู้แนะนำวิทยากร แต่ในกรณีที่ไม่มีผู้อื่นแนะนำให้ หรือแนะนำไม่สมบูรณ์ วิทยากรก็จำเป็นจะต้องแนะนำตนเองให้ที่ประชุม หรือผู้ฟังรู้จักตนอย่างถูกต้อง ก่อนที่จะอภิปรายหรือแสดงปาฐกถา ในกรณีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน ในเมื่อไม่มีผู้ใด แนะนำ พระองค์ก็ทรงจำเป็นต้องแนะนำพระองค์เองต่อพระเจ้าอชาตศัตรู การแนะนำตัวของวิทยากรต่อที่ประชุมนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้ก็เพื่อให้ที่ประชุมทราบถึงคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ ตลอดจนประสบการณ์ของวิทยากร การแนะนำตัวตามความเป็นจริง ปราศจาก อหังการหรือการยกตนข่มผู้อื่น ย่อมจะเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย ทั้งเป็นการน้อมนำผู้ฟังให้เกิดศรัทธาต่อ ผู้พูด ตั้งแต่เริ่มแรกอีกด้วย บ ท ที่ 5 ส า ม ญ ญ ผ ล เ บื้ อ ง ต้ น DOU 61
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More