ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในที่นี้มีคำว่า ติรัจฉานวิชา คำว่า “ติรัจฉาน” แปลว่า “ไปขวาง” ดังนั้น “ติรัจฉานวิชา” จึงมี
ความหมายว่า วิชาเหล่านี้ “ขวาง” หรือ “ไม่เข้ากับความเป็นสมณะ” มิได้หมายความว่าเป็นวิชาของ
สัตว์ดิรัจฉาน” ดังนั้นถ้อยคำที่พระไม่ควรพูด จึงจัดเป็นติรัจฉานกถา คือ ถ้อยคำที่ขวางหรือขัดกับความ
เป็นพระ วิชาที่พระไม่ควรเกี่ยวข้อง จึงจัดเป็นติรัจฉานวิชา คือ วิชาที่ขวางหรือขัดกับความเป็นพระ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสรุปเรื่องความถึงพร้อมด้วยศีลว่า
“ภิกษุใด เป็นผู้ปฏิบัติสมบูรณ์ด้วยศีลทั้ง 3 อย่าง คือ จุลศีล มัชฌิมศีล และ
มหาศีลนี้แล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์มากมาย ที่สำคัญคือ เป็นผู้ที่ไม่มีภัยใดๆ
มากล้ำกราย เปรียบเสมือนกษัตริย์ผู้กำจัดอริราชศัตรูหมดสิ้นแล้ว ย่อม
ไม่ประสบภัยทั้งปวงจากภายนอก ส่วนภายในจิตใจนั้นเล่า ย่อมรู้สึกสงบ สบาย
ปราศจากความเดือดร้อน กระวนกระวาย จึงกล่าวได้ว่า พระภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์
ย่อมเสวยสุขทั้งทางกายและทางใจ”
พึงสังเกตว่า จุลศีลและมัชฌิมศีลนั้น มีความสัมพันธ์กับปาฏิโมกขสังวรศีลและอาชีวปาริสุทธิศีล
ส่วนมหาศีลนั้นสัมพันธ์กับอาชีวปาริสุทธิศีลโดยตรงทีเดียว
เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูได้สดับเรื่องศีลจากพระบรมศาสดาพระองค์ก็บังเกิดความนับถือเลื่อมใสพระ
ภิกษุอย่างยิ่ง ทรงเห็นว่าสมควรแล้วที่พระภิกษุจะพึงได้รับการเคารพกราบไหว้ และต่อแต่นี้ไปพระองค์เองก็
จะทรงกราบไหว้พระภิกษุด้วยความเคารพอย่างสนิทใจมิใช่เพียงปฏิบัติตามมารยาทและประเพณีดังแต่ก่อน
ที่สำคัญที่สุดทรงทราบชัดเจนแล้วว่า พระเทวทัตผู้ชักนำให้พระองค์ทรงหลงผิดนั้น แท้จริงคือโจรในคราบ
พระภิกษุนั่นเอง เพราะจะหาศีลสักข้อในตัวก็ยังยาก
เมื่อตรัสเรื่อง “ความถึงพร้อมด้วยศีล” จบลงแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระเจ้า
อชาตศัตรูต่อไปอีกว่า “มหาบพิตร อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย”
6.2.4 คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายมีคำศัพท์เฉพาะว่า “อินทรียสังวรศีล” มีคำศัพท์ที่ควรแยกพิจารณา
ได้ 3 คํา คือ
คำที่ 1 “อินทรีย์” มีความหมายหลายอย่าง แต่ในศีลข้อนี้ มุ่งถึงอินทรีย์ 6 หรืออายตนะภายใน
6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
- พระไตรปิฎกฉบับประชาชน หน้า 291
* ส่วนสาเหตุที่เราเรียกสัตว์อื่นนอกจากมนุษย์ว่า “สัตว์ดิรัจฉาน” ก็เพราะสัตว์เหล่านั้นเคลื่อนไหวโดยมีลำตัวไป
ตามขวาง มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่เคลื่อนไหวด้วยกายที่ตั้งตรง
88 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ