มาตรฐานและการปฏิบัติตต่อนักบวช SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 19
หน้าที่ 19 / 209

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับมาตรฐานของนักบวชตามสามัญญผลสูตร โดยเปิดเผยถึงหลักการคุณธรรมที่นักบวชควรมี และการปฏิบัติตนของฆราวาสที่สัมพันธ์กับนักบวช เพื่อป้องกันการหลงผิด นอกจากนี้ยังเน้นการเตรียมตัวก่อนบวชของผู้ที่มีความประสงค์จะบวช เพื่อให้ได้ประโยชน์และไม่ส่งผลเสื่อมต่อพระพุทธศาสนา การบวชยังช่วยส่งเสริมสันติสุขแก่สังคมและสนับสนุนการรักษาพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-มาตรฐานของนักบวช
-การปฏิบัติต่อนักบวช
-การเตรียมตัวก่อนบวช
-คุณธรรมในพระพุทธศาสนา
-บทบาทของฆราวาสต่อพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1.5.1 มาตรฐานของนักบวช ธรรมะที่ปรากฏอยู่ในสามัญญผลสูตรนี้ถือได้ว่า เป็นเกณฑ์มาตรฐานด้านหลักการและคุณธรรม ของนักบวชอย่างแท้จริง เพราะได้ให้ภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับมาตรฐานของนักบวชว่า นักบวชที่สมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา หรือศาสนาใดๆ ก็ตาม จะต้องมีหลักการและมีคุณธรรมอย่างใดบ้าง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักบวชโดยตรง ยิ่งกว่านั้น ความเข้าใจนี้ยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อฆราวาสทั้งหลาย ในการพิจารณาว่า นักบวช รูปใดดีหรือไม่ดี จริงหรือปลอม สามารถยึดเป็นที่พึ่งที่ระลึกได้หรือไม่ เพื่อว่าจะได้สามารถหลีกเลี่ยงจาก นักบวช ซึ่งเผยแพร่ลัทธิคำสอนที่เป็นอันตรายต่อชาวโลก หรือเพื่อป้องกันตนไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของ หรือเพื่อไม่ให้หลงงมงายตามคำสอนของนักบวชที่ปฏิบัตินอกลู่นอกทางไปจากพระธรรมคำสอน นักบวชทุศีล ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 1.5.2 การปฏิบัติตนต่อนักบวช ฆราวาสโดยทั่วไปเมื่ออ่านพระสูตรนี้แล้วย่อมจะเข้าใจได้เองว่าควรจะประพฤติปฏิบัติตนต่อนักบวช อย่างไร จึงจะไม่ขัดต่อพระวินัยหรือศีลของนักบวช อันมีจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล เป็นต้น และถ้าปรารถนาจะ ได้รับความรู้ ความดี หรือบุญกุศลจากนักบวช ก็ควรจะต้องปฏิบัติตนอย่างไร จะปฏิบัติตนต่อนักบวชอย่างไร และจะสนับสนุนนักบวชอย่างไรบ้าง เป็นต้น ทั้งเกิดความเข้าใจว่า แม้ตนเองไม่ได้บวชก็สามารถจะบำเพ็ญ กุศลธรรมได้ โดยทำหน้าที่เป็นกำลังสนับสนุนนักบวช ให้สามารถส่งเสริมสันติสุขแก่โลกได้อย่างกว้างขวาง 1.5.3 การเตรียมตัวก่อนบวช สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้บวช หากวันใดวันหนึ่งคิดจะออกบวชบ้าง ก็จะสามารถเตรียมตัวเตรียมใจ ล่วงหน้าได้ถูกต้อง เขาจะรู้ว่าเมื่อบวชแล้วต้องประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร จึงจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง จากการบวช ทั้งไม่เป็นนักบวชที่มีส่วนทำลายพระพุทธศาสนา ไม่เป็นนักบวชที่มอมเมาประชาชน และ ไม่เป็นนักบวชที่สร้างความสับสน จนทำให้ประชาชนเข้าใจพระพุทธศาสนาผิด ยิ่งกว่านั้นเมื่อถึงเวลาบวชจริง ก็จะสามารถเลือกวัด เลือกพระอาจารย์ได้ถูกต้อง ทำให้ การบวชมีคุณค่าตรงตามความมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา และความตั้งใจของผู้บวชเอง ถ้าเป็นการบวชตลอดชีวิต ก็จะเป็นการบวชเพื่อมรรคผลนิพพานโดยแท้ หรือแม้ว่าจะเป็นการบวช ระยะสั้น ดังที่นิยมบวชกันตามประเพณีของไทยในช่วงฤดูเข้าพรรษา ผู้บวชก็จะได้รับรสพระธรรมอันประเสริฐ ถูกต้องตามแนวทางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ซึ่งจะช่วยให้ผู้บวชเกิดโยนิโสมนสิการ อันเป็น ประโยชน์โดยตรงต่อการครองชีวิตฆราวาสเมื่อลาสิกขาแล้ว และเป็นประโยชน์ทางอ้อมต่อครอบครัว สังคม ตลอดจนประเทศชาติ ทั้งยังเป็นการช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวอยู่คู่โลกอีกด้วย 8 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More