ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในสิ่งเดียวกัน จึงเกิดการเผชิญหน้ากันหรือเกิดการแข่งขันแย่งชิงกันขึ้น
ครั้นแล้ว กิเลสกามก็จะสอนให้แต่ละฝ่ายนำกลยุทธ์ออกมาใช้ในการต่อสู้กัน ชิงชัยกันทุกรูปแบบ
เพื่อความเป็นผู้ชนะดังปรากฏให้เห็นอยู่ในโลกปัจจุบันนับตั้งแต่การชิงไหวชิงพริบกันในด้านเศรษฐกิจระหว่าง
บุคคลหรือระหว่างประเทศ การคดโกงและการแก้แค้นกัน ไปจนถึงสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัน เหล่านี้ล้วน
เป็นทางมาแห่งธุลีหรือกิเลสทั้งสิ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเรื่องโทษของกามไว้มากมาย เป็นต้นว่า
“กามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ ย่อมย่ำยีจิตโดยรูปต่างๆ
จากที่ได้พรรณนามาทั้งหมดนี้ น่าจะพอเป็นแนวทาง ชี้ให้เห็นได้แล้วว่า การใช้ชีวิตแบบฆราวาส
นั้นตกอยู่ใต้อำนาจของกาม อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปอกุศลทั้งปวง
ส่วนชีวิตนักบวชนั้น มีโอกาสประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติ
พรหมจรรย์ ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย”
สิ่งแรกที่ควรพิจารณาก็คือ คำว่า “บรรพชา”
คำว่า “บรรพชา” โดยรากศัพท์เดิมแปลว่า เว้นความชั่วทุกอย่าง หรือการทำให้ถึงซึ่งความเป็น
ผู้ประเสริฐ แต่เดิมทีเดียวคำว่า “บรรพชา” หมายความว่า บวช เช่น สิทธัตถราชกุมารเสด็จออกบรรพชา
เป็นต้น แต่ในปัจจุบันคำว่า “บรรพชา” หมายถึงบวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุใช้คำว่า “อุปสมบท” และ
มักจะใช้ควบกันว่า “บรรพชาอุปสมบท” หรือโดยทั่วไปมักนิยมพูดกันว่า “บวช” เมื่อบวชแล้วก็ได้ชื่อว่า
“บรรพชิต” บรรพชิตทั้งหลายที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ก็เพื่อเว้นความชั่วทุกอย่าง ในขณะเดียวกัน
ก็ต้องพยายามปฏิบัติตนให้ถึงซึ่งความเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยการสร้างบุญกุศลทั้งปวงให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง” นั้นหมายความว่า บรรพชิต
หรือพระภิกษุย่อมมีโอกาสประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ง่าย เมื่อเทียบกับฆราวาสหรือผู้ครอง
เรือน ทั้งนี้เพราะโดยพระวินัยแล้ว การเลี้ยงชีพของพระภิกษุต้องขึ้นอยู่กับฆราวาส ดังนั้น พระภิกษุจึง
ไม่ต้องกังวลด้วยเรื่องการทำมาหากินแบบฆราวาสทำให้สามารถทุ่มเทเวลาและชีวิตเพื่อการศึกษาและปฏิบัติ
ตามพระธรรมวินัยได้โดยบริบูรณ์ กรณีเช่นนี้ย่อมเอื้ออำนวยให้พระภิกษุห่างไกลจากกามคุณได้มากทีเดียว
ซึ่งจะยังผลให้การประพฤติพรหมจรรย์นั้นบริบูรณ์บริสุทธิ์ได้กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ชีวิตนักบวชมีโอกาสสร้าง
บุญกุศลทั้งปวง สะดวกกว่าชีวิตฆราวาสมากนัก
อนึ่ง พระธรรมเทศนานี้ย่อมเป็นการบอกพระเจ้าอชาตศัตรูโดยนัยว่า สาวกของพระพุทธองค์ล้วน
มีเป้าหมายในการบวชทั้งสิ้น มิใช่บวชโดยไร้เป้าหมาย หรือบวชเพื่อหากินดังเช่น นักบวชบางจำพวก ทั้งนี้
ย่อมเป็นการยกศรัทธาของพระเจ้าอชาตศัตรูต่อภิกษุสงฆ์ให้สูงยิ่งขึ้นไปอีกด้วย
ขัคควิสาณสูตร ขุ, สุ 25/296/334
บ ท ที่ 6 คุ ณ ธ ร ร ม ที่ ทำ ใ ห้ เ ป็ น ผู้ บ ริ สุท ธิ์ DOU 71