พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับนิวรณ์ 5 SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 117
หน้าที่ 117 / 209

สรุปเนื้อหา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบพยาบาทเหมือนโรค หลายคนที่มีพยาบาทย่อมมีความทุกข์และเจ็บปวดในกายและใจ จึงต้องฝืนทำทุกอย่างด้วยความทรมาน ซึ่งทำให้ยากที่จะพบความสุข ในขณะที่ผู้ที่มีความหดหู่และความฟุ้งซ่านย่อมไม่สามารถมีสมาธิและไม่อาจเข้าใจความเป็นจริงของธรรมได้ ทั้งนี้ ผู้ที่มีความลังเลสงสัยก็ไม่สามารถบรรลุอริยภูมิได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ นิวรณ์ 5 จะต้องได้รับการขจัดออกไปเพื่อให้ใจรวมเป็นหนึ่งและพบกับสมาธิที่แท้จริงที่นำมาสู่ความสุขอย่างยั่งยืน.

หัวข้อประเด็น

-พยาบาท
-ถีนมิทธะ
-อุทธัจจกุกกุจจะ
-วิจิกิจฉา
-สมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบพยาบาทเหมือน “โรค” ผู้ที่เป็นโรคต่างๆ ย่อมมีความทุกข์ มีความเจ็บป่วย ไม่สบายทั้งกายและใจ เมื่อจะทำการสิ่งใดก็ต้องฝืนทำด้วยความทรมาน ยากที่จะพบ ความสุขความสำเร็จได้ฉันใด ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจพยาบาท ใจย่อมเป็นทุกข์ กระสับกระส่าย แม้จะ พยายามปฏิบัติธรรม ก็ยากที่จะซาบซึ้งในรสแห่งธรรม ไม่อาจพบความสุขอันเกิดจากฌานได้ฉันนั้น 7.3.3 ถีนมิทธะ คือ ความหดหู่ ความง่วงเหงา ซึมเซา ขาดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม ต่างๆ ขาดกำลังใจและความหวังในชีวิต เกิดความเบื่อหน่ายชีวิต ไม่คิดอยากทำสิ่งใดๆ บุคคลที่ใจหดหู ย่อมขาดความวิริยอุตสาหะในการทำสิ่งต่างๆ ได้แต่ปล่อยให้ความคิดเลื่อนลอยไปเรื่อยๆ จึงไม่สามารถรวมใจ เป็นหนึ่งได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบถีนมิทธะเหมือน “การถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ” คนที่ ถูกจองจำอยู่ในเรือนจำนั้นย่อมหมดโอกาสที่จะได้รับความบันเทิงจากการเที่ยวดูหรือชมมหรสพต่างๆ ในงาน นักขัตฤกษ์ฉันใด ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจถีนมิทธะนิวรณ์ย่อมหมดโอกาสที่จะได้รับรู้รสแห่งธรรมบันเทิง คือ ความสงบสุขอันเกิดจากฌานฉันนั้น 7.3.4 อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ อันเกิดจากการปล่อยใจให้เคลิบเคลิ้มไปกับ เรื่องที่มากระทบใจแล้วคิดปรุงแต่งเรื่อยไปไม่สิ้นสุด บางครั้งก็ทำให้หงุดหงิด งุ่นง่าน ความรำคาญใจ และ ความฟุ้งซ่านเหล่านี้ ย่อมทำให้ใจซัดส่ายไม่อยู่นิ่ง ไม่เป็นสมาธิ แม้ต้องการจะเอาใจจดจ่อกับเรื่องใด ก็ไม่สามารถทำได้ตามปรารถนา เพราะใจจะคอยพะวงคิดไปถึงเรื่องอื่น ใจจึงไม่มีความเป็นใหญ่ในตัว ควบคุม ใจตัวไม่ได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบอุทธัจจกุกกุจจะเหมือน “ความเป็นทาส” ผู้ที่เป็นทาสเขา จะไปไหนตามความพอใจไม่ได้ ต้องคอยพะวงถึงนาย เกรงจะถูกลงโทษ ไม่มีอิสระในตัว 7.3.5 วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ มีคำถามเกิดขึ้นในใจตลอดเวลา ทำให้ไม่แน่ใจใน การปฏิบัติของตน เช่นนี้ย่อมไม่สามารถทำใจให้รวมเป็นหนึ่งได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบวิจิกิจฉาเหมือน “บุรุษผู้มั่งคั่งเดินทางไกลและกันดาร พบ อุปสรรคมากมาย” บุรุษที่เดินทางไกล หากเกิดความสะดุ้งกลัวต่อพวกโจรผู้ร้าย ย่อมเกิดความลังเลใจว่า ควรจะไปต่อหรือจะกลับดี ความสะดุ้งกลัวพวกโจรผู้ร้าย เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไกลของบุรุษฉันใด ความ ลังเลสงสัยในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุอริยภูมิของพระภิกษุฉันนั้น ผู้เจริญภาวนา หากถูกนิวรณ์ทั้ง 5 แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งเข้าครอบงำ ย่อมไม่อาจรวมใจให้เป็นหนึ่ง ได้ ต่อเมื่อทำใจให้ปลอดจากนิวรณ์ทั้ง 5 รักษาใจให้แน่วแน่ ใจจึงจะรวมเป็นหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “สมาธิ” 106 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More