แนวคิดเกี่ยวกับสามัญญผลเบื้องสูง SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 128
หน้าที่ 128 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการฝึกจิตของพระภิกษุเพื่อบรรลุฌาน 4 และสามัญญผลเบื้องสูง ซึ่งคือวิชชา 8 ที่นำไปสู่นิพพาน การเรียนรู้เรื่องนี้ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจขั้นตอนการทำสมาธิจนบรรลุคุณวิเศษต่าง ๆ และเห็นความสำคัญของการสารภาพผิดเพื่อลดความกังวลในใจ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถอธิบายขั้นตอนและสามัญญผลเบื้องสูงได้อย่างถูกต้องและชัดเจน

หัวข้อประเด็น

-การฝึกจิต
-การบรรลุฌาน
-สามัญญผลเบื้องสูง
-วิชชา 8
-ความสำคัญของการสารภาพผิด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. เมื่อพระภิกษุได้ฝึกจิตของตนให้เป็นสมาธิ ละนิวรณ์ได้แล้ว จึงจะบรรลุฌาน 4 จากนั้นถ้ายัง ประคองใจให้หยุดนิ่งบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ปราศจากอุปกิเลส ก็จะได้ผลแห่งความเป็นนักบวช หรือสามัญญผล เบื้องสูง 2. สามัญญผลเบื้องสูง ได้แก่ วิชชา 8 ซึ่งเป็นการบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นอานิสงส์ที่พระภิกษุ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบจึงได้รับ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ และอธิบายสามัญญผลเบื้องสูงได้ตามลำดับอย่างถูกต้อง 2. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ และอธิบายถึงขั้นตอนของการฝึกสมาธิจนใจตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว กระทั่ง ได้บรรลุคุณวิเศษต่างๆ 3. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการสารภาพผิด ซึ่งจะมีผลต่อการทำใจให้หยุดนิ่ง ได้ เพราะคลายกังวล บ ท ที่ 8 ส า ม ญ ญ ผ ล เ มื อ ง สูง ลเบื้อ DOU 117
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More