การดำเนินชีวิตด้วยอาชีพบริสุทธิ์ในพระธรรม SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 92
หน้าที่ 92 / 209

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพบริสุทธิ์ของพระภิกษุซึ่งเกิดจากการบิณฑบาตหรือการได้รับจากผู้เลื่อมใส ศีลที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคปัจจัย 4 มีความสำคัญต่อการหลีกเร้นจากกาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำการบริโภคด้วยวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ป้องกันกิเลสและส่งเสริมความบริสุทธิ์ รายละเอียดวิธีการบริโภคที่ดีมี 4 แนวทาง ชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเพื่อก้าวข้ามความโลภและความกำหนัด นับเป็นหลักการสำคัญในพระธรรมที่พระภิกษุควรยึดถือ

หัวข้อประเด็น

-อาชีพบริสุทธิ์
-ศีลในพระพุทธศาสนา
-การบริโภคปัจจัย 4
-การหลีกเร้นจากกาม
-แนวทางการบริโภคสติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ก็ถือว่าบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ส่วนพระภิกษุผู้รักษาธุดงค์นั้น ปัจจัยอาจเกิดขึ้นจากการเที่ยวบิณฑบาต หรือเกิดจาก ผู้เลื่อมใสศรัทธาในธุดงค์คุณของพระภิกษุนั้นนำมาถวายก็ได้ จากที่กล่าวมาแล้วนี้จะเห็นว่า ข้อบัญญัติเกี่ยวกับอาชีพบริสุทธิ์นั้น จะช่วยให้พระภิกษุมีกายและ วาจาบริสุทธิ์อย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม อาชีพบริสุทธิ์เป็นเพียงเรื่องของวิธีการแสวงหาปัจจัย 4 เท่านั้น พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ทรงบัญญัติวิธีบริโภคที่ดีเพิ่มเติมอีก เพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์ยิ่งขึ้น นั่นก็คือ ศีลที่ เรียกว่า “ปัจจัยสันนิสสิตศีล” หรือ “ปัจจเวกขณศีล” ปัจจัยสันนิสสิตศีล โดยเหตุที่เป้าหมายสำคัญของการบวช คือ การหลีกออกจากกาม ดังนั้น เมื่อพระภิกษุสามารถ ปฏิบัติตนให้สมบูรณ์ด้วยอาชีวปาริสุทธิศีลแล้ว ก็จำเป็นจะต้องรู้จักบริโภคปัจจัยที่ได้มาอย่างฉลาดอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อยกตนให้พ้นจากการเป็นทาสของกามได้อย่างแท้จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสสอนการ บริโภคปัจจัย 4 หรือปัจจัยสันนิสสิตศีลให้กับพระภิกษุ โดยให้พระภิกษุพิจารณาวัตถุประสงค์ของการใช้ ปัจจัย 4 อย่างแยบคายดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ในการใช้จีวร คำว่า “จีวร” หมายรวมถึงผ้าทุกชิ้นที่ภิกษุใช้นุ่งและห่ม การใช้ จีวร ก็เพียงเพื่อบำบัด ความหนาว อันจะเป็นเหตุให้เกิดอาพาธประการหนึ่ง เพื่อป้องกันแมลง และสัตว์ร้าย ทำอันตรายประการหนึ่ง และเพื่อปกปิดอวัยวะที่น่าอายอีกประการหนึ่ง 2. วัตถุประสงค์ในการบริโภคบิณฑบาต คำว่า “บิณฑบาต” หมายถึง “อาหาร” ของพระภิกษุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนให้พระภิกษุพิจารณาการบริโภคอาหารอย่างแยบคาย เพื่อละอุปนิสัย ที่ไม่ดี และเพื่อป้องกันมิให้กิเลสเฟื่องฟูขึ้นในใจ โดยตรัสแสดงไว้เป็น 4 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 ต้องไม่บริโภคเพื่อจะเล่น หมายความว่า ไม่มุ่งการบริโภคให้มีเรี่ยวแรงไปเล่น คะนองเหมือนเด็กๆ และไม่มุ่งเอากำลังมากอย่างลูกผู้ชาย ดังเช่นพวกนักมวย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ละอุปนิสัย แห่งโมหะและโทสะ คือ ความงมงายและความซึ้งเคียดเสีย แนวทางที่ 2 ต้องไม่บริโภคเพื่อจะมัวเมา หรือติดในรสอาหาร ทั้งนี้ก็เพื่อให้ละอุปนิสัยแห่งโลภะ หรือความติดใจในกามคุณเสีย อันที่จริงจุดมุ่งหมายที่แยบคายของทั้ง 2 แนวทางแรกนี้ ก็เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดขึ้น ในตนนั่นเอง แนวทางที่ 3 การบริโภคนั้นไม่ต้องการจะประดับ หมายความว่า ไม่มุ่งความอวบอัดอ้วนพี แห่งอวัยวะต่างๆ ดังเช่นหญิงแพศยาเป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อละอุปนิสัยแห่งความกำหนัดเสีย แนวทางที่ 4 การบริโภคนั้นไม่ต้องการจะตกแต่ง หมายความว่า ไม่มุ่งจะให้ผิวงาม ดังเช่น ตัวละคร เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อละอุปนิสัยกำหนัด ราคะ เช่นกัน บ ท ท 6 คุณ ธ ร ร ม ที่ ทำ ใ ห้ เ ป็ น ผู้ บ ริ สุท DOU 81
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More