ข้อความต้นฉบับในหน้า
การน้อมจิตไปเพื่อแสดงฤทธิ์ ซึ่งเป็นสามัญญผลลำดับที่ 3 นี้ มีศัพท์โดย เฉพาะว่า “เป็น
ผลพลอยได้จากการที่จิตบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
8.5 สามัญญผลลำดับที่ 4
เมื่อผู้เจริญภาวนาบรรลุ “อิทธิวิธี” แล้ว ถ้ายังสามารถประคองจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ต่อไปอีก
จิตย่อมบริสุทธิ์ขึ้น ผ่องแผ้วสุกสว่างขึ้นอีก ปราศจากกิเลสและอุปกิเลส จึงทวีประสิทธิภาพในการงาน
ยิ่งขึ้นอีก ยังผลให้บรรลุญาณซึ่งสามารถฟังอะไรได้ยินหมดตามความปรารถนา ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรูว่า
“ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ
“ทิพยโสต” เธอย่อมได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ทั้งที่
อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์
มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียงกลองบ้าง
เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะ
พึงเข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียง
บัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ
บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตเพื่อทิพยโสต เธอย่อมได้ยินเสียง 2 ชนิด (คือเสียงทิพย์และ
เสียงมนุษย์ดังกล่าวแล้ว) มหาบพิตร นี้แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดี
ยิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ”
“ทิพยโสต” หรือ “ทิพพโสต” หรือที่มักเรียกกันง่ายๆ ว่า “หูทิพย์” เป็นสามัญญผลอันเกิดจาก
การทำใจให้บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้น
8.6 สามัญญผลลำดับที่ 5
เมื่อผู้เจริญภาวนาสามารถประคองจิตให้แน่วแน่ต่อไปอีก จิตย่อมบริสุทธิ์ขึ้นอีก ผ่องแผ้วสุกสว่าง
*สามัญญผลสูตร ที. ส. 9/134/104
122 DOU ชี วิ ต ส ม ณ ะ