ความหมายและลักษณะของสมาธิ SB 304 ชีวิตสมณะ หน้า 118
หน้าที่ 118 / 209

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอความหมายของสมาธิที่มีความหลากหลาย รวมถึงอาการของใจและลักษณะของใจที่เป็นดวงกลมใส การปฏิบัติภาวนาในการเข้าถึงธรรมกายเพื่อการเห็นความบริสุทธิ์ของใจ ทำให้เกิดกำลังใจและความสุข การอธิบายเกี่ยวกับดวงใจที่มีชั้นต่าง ๆ และการเชื่อมโยงกับการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สนใจศึกษาเพื่อพัฒนาจิตใจและคุณภาพชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของสมาธิ
-ลักษณะของใจ
-การเจริญภาวนา
-ธรรมกาย
-อริยสัจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

7.4 ความหมายของสมาธิ “สมาธิ” อาจให้คําจํากัดความได้หลายอย่าง เช่น 1) สมาธิ คือ สภาวะที่ใจปราศจากนิวรณ์ 5 2) สมาธิ คือ อาการที่ใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างต่อเนื่องเป็น “เอกัคคตา” หรือบางที่ใช้ว่า “เอกัคคตารมณ์” 3) สมาธิ คือ อาการที่ใจหยุดนิ่งแน่วแน่ ไม่ซัดส่ายไปมา 4) สมาธิ คือ อาการที่ใจสงบรวมเป็นหนึ่งแน่วแน่ ณ ศูนย์กลางกายของตนเองอย่างต่อเนื่อง มี แต่ความบริสุทธิ์ ผ่องใส สว่างไสวผุดขึ้นในใจ จนกระทั่งสามารถเห็นความบริสุทธิ์นั้นได้ด้วยใจตนเอง อันจะก่อให้เกิดทั้งกำลังใจ กำลังขวัญ กำลังปัญญา และความสุขแก่ผู้ปฏิบัติได้ในเวลาเดียวกัน 7.5 ลักษณะของใจ ใจของคนเรานั้น มีลักษณะเป็นดวงกลมใส โดยทั่วไปเราไม่สามารถมองเห็นใจได้ด้วยตาของเราเอง แต่ผู้ที่เจริญภาวนาจนกระทั่งเข้าถึงธรรมกาย" เชี่ยวชาญดีแล้ว ก็จะสามารถมองเห็นใจของตนเองและของ ผู้อื่นได้ชัดเจนว่าดวงใจของคนเรานั้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโตเท่ากระบอกตาของตนเอง ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลาง กายฐานที่ 7 ซึ่งอยู่ตรงกึ่งกลางลำตัว เหนือระดับสะดือขึ้นมาสองนิ้วมือ เนื้อของดวงใจมีลักษณะเป็น ดวงซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ 4 ชั้นด้วยกัน คือ ชั้นนอกเป็น “ดวงเห็น” ชั้นที่สองเป็น “ดวงจำ” ชั้นที่สามเป็น “ดวงคิด” และชั้นในสุดเป็น “ดวงรู้” “ดวงเห็น” เป็นดวงชั้นนอกสุด ขนาดโตเท่ากระบอกตาของตนเอง มีหน้าที่รับอารมณ์ต่างๆ ผ่าน ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือรับรูปผ่านประสาทตา รับเสียงผ่านประสาทหู รับกลิ่นผ่านประสาทจมูก รับรส ผ่านประสาทลิ้น รับสัมผัสผ่านประสาทกาย และรับธรรมารมณ์ที่มากระทบใจ “ดวงจำ” เป็นเนื้อใจชั้นที่สอง ซ้อนอยู่ข้างในดวงเห็น แต่ใสกว่าดวงเห็น ขนาดโตเท่าดวงตา ของเรามีหน้าที่ “จำ” สิ่งที่ได้เห็น จำเสียงที่ได้ยิน จำกลิ่นที่ได้สูดดม จำรสที่ได้ลิ้ม สัมผัสที่ได้แตะต้อง และจำธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นที่จิต ธรรมกาย คือ กายแห่งการตรัสรู้ธรรม มีอยู่ที่ศูนย์กลางกายของมนุษย์ทุกคน จะเข้าถึงได้ด้วยการทำใจให้หยุดนิ่ง และดำเนินจิตเข้าสู่หนทางสายกลาง ธรรมกายมีความเห็นพิเศษที่เรียกว่า ธรรมจักษุ หรือตาธรรมกาย มีความรู้พิเศษที่เรียกว่า ญาณ หรือ ญาณทัสสนะ เมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว จึงสามารถทั้งรู้ทั้งเห็นธรรมได้ตามความเป็นจริง พระสิทธัตถราชกุมารตรัสรู้ อริยสัจ ด้วยธรรมกาย จึงได้เข้าถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บ ท เ ท ที่ 7 ส า ม ญ ญ ผลเบื้ อ ง ก ล า ง DOU 107
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More