ข้อความต้นฉบับในหน้า
9.11 การอบรมบุตรเป็นหน้าที่สำคัญของมารดาบิดา
ดังได้กล่าวแล้วว่า กัลยาณมิตรชุดแรกของลูก คือพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ที่ต้องเป็นผู้ปลูกฝัง
โยนิโสมนสิการให้แก่ลูก ดังนั้นพ่อแม่ทุกคนจะต้องถือเป็นหน้าที่โดยตรงของตน ในการปลูกฝังอบรม
บ่มนิสัยลูก ตั้งแต่เมื่อลูกลืมตามาดูโลก
มีหลักฐานจากงานวิจัยในวงการแพทย์และจิตวิทยาสมัยใหม่มากมายที่บ่งชี้ว่า นิสัยต่างๆ ของ
คนเรานั้นได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่ยังเป็นทารก เช่น เด็กอ่อนที่พ่อแม่ไม่เคยปล่อยปละละเลยให้นอน
แช่อยู่กับความสกปรกและเปียกชื้นของปัสสาวะอุจจาระ แต่หมั่นเช็ดถูทำความสะอาดให้ เมื่อเด็กคนนั้น
โตเป็นผู้ใหญ่ ก็มักจะมีนิสัยรักความสะอาด ดังนี้เป็นต้น
ดังนั้น พ่อแม่จึงไม่ควรละเลยในเรื่องการสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงามต่างๆ ให้แก่ลูกด้วยตนเอง
ส่วนการปลูกฝังอบรม คุณธรรมขั้นสูงขึ้นไปยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น จะคอยไว้ให้เป็นภาระหน้าที่ของครู
อาจารย์ที่โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาย่อมไม่ได้ผลเต็มที่ ทั้งนี้เพราะบรรดาครูอาจารย์แต่ละท่าน
ย่อมมีศิษย์ในความดูแลรับผิดชอบเป็นจำนวนมาก อาจดูแลไม่ทั่วถึง อีกทั้งวิชาการต่างๆ ที่เปิดสอนกัน
ในโรงเรียนก็มีมากมาย จนแทบไม่เหลือเวลาไว้อบรมคุณธรรมให้แก่นักเรียน นอกจากนี้เวลาที่เด็กอยู่ที่
โรงเรียนก็น้อยกว่าอยู่ที่บ้าน
ด้วยเหตุนี้ การปลูกฝังอบรมคุณธรรมแก่ลูก จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของพ่อแม่ ซึ่งจะต้องเริ่มทำกัน
ตั้งแต่ลูกยังเป็นเด็กทารก และจะต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยากขึ้นตามลำดับ
โดยให้เหมาะสมกับการรับรู้และภูมิปัญญาของเด็ก
คุณธรรมที่พ่อแม่พึงปลูกฝังอบรมให้แก่ลูกนั้นมีอยู่มากมาย แต่คุณธรรมสำคัญที่จะช่วยพัฒนา
โยนิโสมนสิการให้แก่ลูก ก็คือ
1) ความรู้เรื่องเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ซึ่งก็คือเป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์
นั่นเอง พระพุทธศาสนาสอนให้คนเราสั่งสมบุญบารมี เมื่อบุญบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมสามารถขจัดอาสว
กิเลสให้หมดสิ้นไปได้ เข้าถึงความหลุดพ้น ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด หรือผจญทุกขเวทนาอยู่ในวัฏสงสาร
อีกต่อไป
2) หลักปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด มีอยู่ 3 ประการ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
3) ธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ซึ่งมีชื่อเฉพาะว่า “ฆราวาสธรรม”
4) พุทธศาสนิกชนมีหน้าที่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เพราะที่พึ่งอันแท้จริงของมนุษยชาติ
คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ พระสงฆ์คือผู้สืบทอดและเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า หากพระสงฆ์ไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากฆราวาสแล้ว ย่อมไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ของท่าน
บ ท ที่ 9 บ ท ส่ ง ท้ า ย
DOU 153