ข้อความต้นฉบับในหน้า
คำตอบก็คือ “การคบเพื่อนเลว หรือคบคนพาล ชักนำไปสู่ความหายนะเช่นนั้น” เหล่าวัยรุ่น
ที่คบคนพาลดังกล่าวแล้ว แม้ไม่ทราบว่าตนจะต้องเสวยวิบากกรรมอย่างไรในภพชาติต่อไป แต่สภาพชีวิต
ที่พวกเขาและครอบครัวของเขาต้องเผชิญในปัจจุบันชาติ ก็คือความทุกข์แสนสาหัส พอที่จะเรียกได้ว่า
“ตกนรก” ทีเดียว
ตัวอย่างสำคัญอีกตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในครั้งพุทธกาล อันเป็นที่มาแห่งสามัญญผลสูตรนี้
ย่อมชี้ชัดถึงมหันตโทษของการคบคนพาล ทั้งนี้เพราะจากหลักฐานที่ปรากฏ การที่พระเจ้าอชาตศัตรูทรง
ปฏิบัติการเลวร้าย ไม่ว่าจะเป็นการปลงพระชนม์พระราชบิดา หรือการให้ความร่วมมือกับพระเทวทัต
ในการลอบทำร้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตาม ล้วนแต่ทรงทำตามคำเสี้ยมสอนของพระเทวทัตทั้งสิ้น
กว่าพระเจ้าอชาตศัตรูจะได้สำนึกในบาปใหญ่หลวงที่ทรงกระทำไป ทุกสิ่งทุกอย่างก็สายเกินแก้ แม้
ภายหลังต่อมา จะทรงมีโอกาสเข้าเฝ้าทูลถามปัญหา และสดับพระธรรมเทศนาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จนเข้าพระทัยดีแล้ว จึงทรงกราบทูลขอขมาต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยิ่งกว่านั้น ยังทรงขอถึงพระรัตนตรัย
เป็นที่พึ่งที่ระลึก และทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน แม้หลังพุทธปรินิพพาน
พระองค์ก็ยังทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกอีกด้วย ถึงกระนั้นก็ตาม พระเจ้าอชาตศัตรูก็
ยังต้องเสวยวิบากกรรมในนรกอยู่อีกหลายหมื่นปี
จากกรณีของพระเจ้าอชาตศัตรูนี้ กล่าวได้ว่าการคบคนพาลนอกจากจะมีผลถึงขั้นปิดสวรรค์ ปิด
นิพพานแล้ว ยังมีโทษถึงตกนรกอีกด้วย ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
“ผู้เที่ยวสมาคมกับคนพาล ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน” และ
“เมื่อคบหาคนพาล ย่อมมีแต่ความฉิบหาย”
9.7 คบกัลยาณมิตรมีโอกาสบรรลุนิพพาน
คนเราทุกคนไม่มีใครจะสามารถยืนหยัดมีชีวิตอยู่ตามลำพังตนเองผู้เดียวได้ นับตั้งแต่เกิด ก็มีมารดา
บิดาคอยเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน ให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาอย่างดีที่สุด ตาม
ศักยภาพทั้งของเราและของท่าน เมื่อเราออกจากบ้าน ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะที่เป็นเด็ก ผู้ใหญ่ นักเรียน
นักศึกษา หรือผู้ประกอบการงานอาชีพ เราก็จำเป็นต้องคบหาสมาคมกับบุคคลอื่นๆ อีกมากมาย พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าทรงแบ่งบุคคลต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปแต่ละคนจำเป็นต้องติดต่อเกี่ยวข้องด้วยออกเป็น 6 ประเภท
คือ (1) มารดาบิดา (2) ครูอาจารย์ (3) บุตรภรรยา (4) มิตรสหาย (5) คนใต้บังคับบัญชา (6) พระสงฆ์ หรือ
สมณพราหมณ์
1
ขุ. ธ. 25/25/42
- หลิททราคชาดก ขุ. ชา. 27/1290/265
บ ท ที่ 9 บ ท ส่ ง ท้ า ย
DOU 145