ความร่มเย็นและความสุขของประชาชนจากสัมมาทิฏฐิ SB 101 วิถีชาวพุทธ หน้า 19
หน้าที่ 19 / 226

สรุปเนื้อหา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงความร่มเย็นและความสุขของประชาชน โดยยกสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องต้นที่สำคัญ บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิย่อมทำให้ผู้คนเข้าสู่สัทธรรมและเกื้อกูลต่อเทพยดาและมนุษย์ การมีสัมมาทิฏฐิในใจเปิดทางให้บุญกุศลเกิดขึ้น สัมมาทิฏฐิจึงเป็นเครื่องหมายของความดีที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต มนุษย์ทุกคนมีเป้าหมายชีวิตที่แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เราดำเนินชีวิตตามที่ปรารถนา สัมมาทิฏฐิจึงมีความสำคัญในการนำไปสู่การพัฒนาชีวิตของตนเองและสังคมโดยรอบอย่างยั่งยืน.

หัวข้อประเด็น

-ความร่มเย็น
-สัมมาทิฏฐิ
-เป้าหมายชีวิต
-กุศลธรรม
-การใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชนไว้ในที่หลายๆ แห่ง และเมื่อตรัสครั้งใด จะต้องยกสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องต้นทุกครั้งไป มีตัวอย่างดังนี้ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียว เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อม เกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ ประโยชน์หิตสุข(เกื้อกูล)แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลคน เดียวคือใคร คือบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริต เขาทำให้ คนเป็นอันมากออกจากอสัทธรรมแล้ว ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียวนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์ หิตสุขแก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย” นอกจากนี้ สัมมาทิฏฐิยังเป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นถึงกุศลธรรมความดีที่กำลังจะเกิด ขึ้นในภายภาคหน้าอีกด้วย คือ เมื่อบุคคลมีสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นในใจแล้ว ย่อมเป็นทางให้บุญกุศลทั้ง หลายได้เกิดแก่ขึ้นแก่บุคคลนั้น ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ดังนี้ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งดวงอาทิตย์ เมื่อจะอุทัย คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย คือ สัมมาทิฏฐิ ฉันนั้น เหมือนกันแล 1.2.2 เป้าหมายชีวิต มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้ ล้วนแสวงหาสิ่งที่ตนเองปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ หรือศาสนาความเชื่อใดก็ตาม ต่างก็มีเป้าหมายชีวิตเป็นของตนเองทั้งสิ้น สิ่งนี้เองที่เป็นแรงผลักดันให้เราต้องมีกิจกรรม มีการงาน มีหน้าที่รับผิดชอบ ต้องดิ้นรนแสวงหา เพื่อให้ได้มาในสิ่งซึ่งตนปรารถนา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, เล่มที่ 33 ข้อ 192 หน้า 191. ปุพพังคสูตร, อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต, เล่มที่ 38 ข้อ 121 หน้า 383. 8 DOU บ ท ที่ 1 ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ข อ ง ม นุ ษ ย์ กั บ วิถี ชี วิ ต
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More