ข้อความต้นฉบับในหน้า
ความอุ่นใจข้อที่สองว่า ถ้าโลกเบื้องหน้าไม่มี ผลแห่งกรรมที่สัตว์ ทำดี
ทำชั่วก็ไม่มี เราก็จะรักษาตนให้เป็นคนไม่มีเวร ไม่มีความลำบากไม่มีทุกข์
มีแต่สุขในชาตินี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สอง
ความอุ่นใจข้อที่สามว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำ เรา
ไม่ได้คิดบาปให้แก่ใครๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเราผู้ไม่ได้ทำบาปดังนี้
ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สาม
ความอุ่นใจข้อที่สี่ว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปไม่ชื่อว่าเป็นอันทำ เรา
ก็ได้พิจารณาเห็นตนเป็นคนบริสุทธิ์แล้วทั้งสองส่วนดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวก
ได้แล้วเป็นที่สี่”
เพราะฉะนั้น การวางแผนชีวิตที่ดี จะกำหนดเป้าหมายชีวิตเพียงเฉพาะเป้าหมายบนดินนั้นยังไม่
เป็นการเพียงพอ จะต้องคำนึงถึงเป้าหมายบนฟ้าด้วย เพราะเราไม่อาจทราบได้เลยว่าชีวิตของเราจะ
ยืนยาวนานเพียงใด และวันสุดท้ายของชีวิตจะมาถึงเมื่อไร เราทราบแต่เพียงว่า วันนั้นจะต้องมาถึง
อย่างแน่นอน และไม่ว่าใครก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ นี้เป็นกฎธรรมดาของโลก
มีข้อน่าสังเกตว่า สถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการสร้างบารมี มีเพียงโลกมนุษย์เท่านั้น เมื่อละ
จากโลกนี้ไปแล้ว จึงหมดโอกาสในการสร้างบารมี เพราะสวรรค์เป็นที่สำหรับเสวยผลบุญเท่านั้น
ไม่สามารถสร้างบุญเพิ่มได้อย่างในโลกมนุษย์ ดังนั้น สำหรับนักสร้างบารมีแล้ว สวรรค์จึงเปรียบเสมือนที่
พักชั่วคราว เพื่อรอโอกาสที่เหมาะสมในการลงมาเกิดเพื่อสร้างบารมีต่อไป
อนึ่ง ข้อจำกัดประการหนึ่งของการลงมาเกิดในโลกมนุษย์ คือ การลืมอดีต โดยเราไม่สามารถ
จำเป้าหมายและมโนปณิธานของตนเองเมื่อชาติที่แล้วได้ จึงเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้เรามีโอกาสออกนอก
ลู่นอกทาง ซึ่งอาจมีผลทำให้พลาดไปทำบาปและพลัดไปสู่อบายภูมิได้ ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท
เราจึงจำเป็นต้องสั่งสมบุญให้มากๆ และบ่อยๆ ให้ติดเป็นนิสัยให้ได้ ต้องทำจนเกิดเป็นความเคยชิน
เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต เหมือนลมหายใจเข้าและออกที่เป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
ฉะนั้นผู้มีปัญญาและไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตจึงตั้งเป้าหมายบนฟ้าควบคู่ไปกับเป้าหมายบนดิน
คือ แสวงหาความสุขในโลกนี้แล้ว ยังต้องวางแผนให้ไปมีความสุขในภพเบื้องหน้าด้วย ซึ่งเป้าหมายบนฟ้านั้น
พระพุทธศาสนาได้วางหลักปฏิบัติที่สมบูรณ์เอาไว้ คือ ต้องทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เช่นเดียว
กับเป้าหมายบนดิน แต่จะต้องปฏิบัติให้เข้มข้นยิ่งขึ้นกว่าเดิม ต้องทำเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอไม่ขาด
คือ จะต้องเป็นผู้ที่รักในการทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ให้ยิ่งกว่าการประกอบอาชีพหรือหน้าที่
การงานในทางโลก ต้องสั่งสมทาน ศีล และภาวนา โดยหวังเอาบุญเป็นที่ตั้ง ไม่หวังประโยชน์อื่นใดใน
กาลามสูตร, อังคุตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่ม 34 ข้อ 505 หน้า 344.
บทที่ 1 ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ข อ ง ม นุ ษ ย์ กั บ วิถี ชี วิ ต DOU 13